ลักษณะทั่วไป จระเข้น้ำจืดตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมียมีขนาดยาวประมาณ 12 ฟุต แต่ตัวผู้มีหางยาวกว่าตัวเมีย และมักมีจำนวนเกล็ดที่ห่างมากกว่า จระเข้น้ำจืดหัวทู่สั้นกว่าจระเข้น้ำเค็ม มีเกล็ดท้ายท้อย 4 เกล็ดเรียงให้เห็นชัด เท้าหลังมีพังผืดเล็กน้อย หางจระเข้มีกำลังมากใช้โบกพัดไปมาช่วยในการว่ายน้ำ หรือเป็นอาวุธ สามารถฟาดหางทำให้คนหรือสัตว์ได้รับอันตรายได้ ปกติไม่ได้ใช้ขาในการว่ายน้ำ ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในเอเชียแถบประเทศกัมพูชา อินโดนีเซีย และประเทศไทย จระเข้น้ำจืดกินสัตว์ที่มีขนาดกลาง เช่น ปลา กบ นก รวมทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก ถ้าอาหารมีขนาดใหญ่มันจะคาบอาหารแล้วเหวี่ยงไปมาทำให้อาหารขาดออกเป็นชิ้น ๆ อาหารจะถูกย่อยอย่างช้า ๆ ทำให้ไม่ต้องกินอาหารประมาณ 15-30 วัน หลังจากนั้นจึงกินอีกครั้งหนึ่ง พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ชอบอยู่ตัวเดียว ตามแหล่งน้ำนิ่งซึ่งมีความลึกไม่เกิน 5 ฟุต และมีที่ร่ม ในช่วงอากาศร้อนจะแช่ตัวในน้ำ ถ้าอากาศหนาวจะขึ้นมาผึ่งแดดบนบกในตอนกลางวัน จระเข้น้ำจืดมักผสมพันธุ์กันในฤดูหนาวซึ่งในระยะนี้ตัวผู้จะต่อสู้กันเพื่อแย่งชิงเป็นเจ้าของตัวเมีย การผสมพันธุ์มีปีละครั้ง จระเข้น้ำจืดเริ่มวางไข่โดยตัวเมียจะขุดดินที่อยู่ใกล้น้ำที่เป็นดินทรายกว้าง 40-50 เซ็นติเมตร แล้วออกไข่ประมาณ 20-40 ฟอง เมื่อวางไข่เสร็จแล้ว จระเข้จะกวาดใบไม้รอบ ๆ หลุมไข่มารวมพูนกองบนรังไข่เพื่อป้องกันฝน จากระยะออกไข่จนฟักเป็นตัว ระยะนี้จระเข้จะดุร้ายมาก ศัตรูตามธรรมชาติของไข่จระเข้น้ำจืดนอกจากคนแล้วก็มี เหี้ย ตะกวด ชะมด อีเห็น ซึ่งมาลักไข่ของมันไปกิน เมื่อฟักไข่ครบกำหนดแล้วจระเข้ตัวอ่อน ๆ ก็จะเจาะเปลือกไข่ออกมาเอง สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา
วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น