วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

หอยมือเสือ


หอยมือเสือหอย Giant Clam
หอยมือเสือเป็นหอยกาบคู่ขนาดใหญ่ ความยาวของเปลือกประมาณ 25 เซนติเมตร เปลือกทั้งสองมีพื้นสีขาว ด้านในเคลือบมันและเปลือกยึดติดกันด้วยมัดกล้ามเนื้อขณะที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติจะเป็ดกาบทั้งสองอ้าออก ทำให้เห็นเนื้อเยื่อแมนเติลสีน้ำเงินอมเขียว ลักษณะเป็นริ้วพับไปมาตามขอบเปลือกโดยมีช่วงให้น้ำไหลออกนอกร่างกายอีก 1 ช่อง บริเวณตรงกลาง
หอยมือเสือชนิดนี้อาศัยอยู่ตามแนวปะการังทั่วไป โดยใช้เอ็นยึดกาบติดไว้กับก้อนหินหรือก้อนปะการัง กล้ามเนื้อของหอยมือเสือเป็นที่นิยมนำมารับประทาน

แมงกะพรุน


แมงกะพรุน (อังกฤษ: Jellyfish) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมไนดาเรีย ลักษณะลำตัวใสและนิ่มมีโพรงทำหน้าที่เป็นทางเดินอาหารมีเข็มพิษไว้ป้องกันและจับเหยื่อ เมื่อโตเต็มวัย ส่วนประกอบหลักในลำตัวเป็นน้ำ 94-98% ด้านบนเป็นวงโค้งคล้ายร่ม ด้านล่างตอนกลางเป็นอวัยวะทำหน้าที่กินและย่อยอาหาร พบได้ในทะเลทุกแห่งทั่วโลก
แมงกะพรุนมีหลายชนิด เช่น แมงกะพรุนจาน หรือ แมงกะพรุนหนัง สามารถรับประทานได้ ส่วนแมงกะพรุนถ้วย แมงกะพรุนไฟ และแมงกะพรุนลาย มีพิษ อีกทั้งยังมีสายพันธุ์ที่พบในน้ำจืดอีกด้วย มีทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่ Craspedacusta sowerbyi หรือ แมงกะพรุนสายน้ำไหล ในต่างประเทศพบที่
ยุโรปและสหรัฐอเมริกา ในประเทศไทยพบในลำน้ำเข็ก อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์และ Craspedacusta sinensis หรือ แมงกะพรุนสายน้ำนิ่ง พบในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี, กรุงเทพ ฯ ,แม่น้ำโขง ที่ จ.หนองคาย, จ.เลย, จ.มุกดาหาร และ Craspedacusta iseana พบในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทั้ง 3 ชนิดนี้แตกต่างกันที่การเรียงตัวของหนวดและแหล่งที่อยู่อาศัยเท่านั้น ในขณะที่วงจรชีวิตและพฤติกรรมแทบไม่มีอะไรแตกต่างกัน
แมงกะพรุนไฟสายพันธุ์ที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก มีชื่อ
ภาษาอังกฤษเรียกว่า "Portuguese man-of-war" (แมงกะพรุนหมวกโปรตุเกส)

ปลิงทะเล


ปลิงทะเล (sea cucumber)เป็นสัตว์ทะเลที่ไร้กระดูกสันหลังชนิดหนึ่งที่อยู่ในตระกูลเอคไคโนเดิร์มซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกับดาวทะเล,หอยเม่น เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีรูปร่างกลมยาว คล้ายไส้กรอกขนาดใหญ่ ปลายทั้งสองข้างเป็นช่องเปิดของปากและทวาร ผิวหนังส่วนนอกคล้ายเนื้อยืดหยุ่นได้ ภายในผิวหนังมีตุ่มเม็ดหินปูนกระจายอยู่ทั่วไปตามผิวนอกมีติ่งเนื้อเล็ก ๆ คล้ายหนวดสั้น ๆ เรียงอยู่เป็นแถว ทำหน้าที่ช่วยในการหายใจและเคลื่อนไหว ปากของปลิงทะเลอยู่ตอนปลายสุดด้านที่มีหนวดลักษณะคล้ายต้นไม้ล้อมรอบ ทำหน้าที่ในการหาอาหาร โดยใช้หนวดขุดโคลนตมหน้าดินเข้าปากผ่านเข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร และกากที่เหลือจะถ่ายออกทางช่องก้นซึ่งอยู่อีกด้านหนึ่ง ทวารของปลิงทะเลเป็นช่องเล็ก ๆ ทำหน้าที่ในการขับถ่ายของเสีย หายใจ เป็นทางออกของเชื้ออสุจิ ปลิงมีสารพิษ โฮโลทูลิน ซึ่งปล่อยออกทางผิวหนัง ใช้ในการป้องกันอันตรายจากปลาและปู ถ้าหากนำปลิงทะเลไปใส่ในตู้เลี้ยงปลามันจะปล่อยสารพิษดังกล่าวออกมามากจนทำให้ปลาตายได้ ถิ่นอาศัย พบตามพื้นทะเลที่เป็นทรายปนโคลนใน อ่าวไทยและทะเลอันดามัน อาหาร กินอินทรีย์วัตถุตามพื้นดินโคลนและทราย ขนาด มีความยาวประมาณ 30–40 ซม. ประโยชน์ เนื้อปลิงใช้ปรุงอาหารได้

แมวน้ำเคปเฟอร์ซิล


ลักษณะทั่วไป ตัวผู้ใหญ่กว่าตัวเมีย โดยมีคอเป็นสันใหญ่ สีขนลำตัวของตัวผู้เป็นสีเทา-ดำ และมีสีน้ำตาลแซม น้ำหนักราว 247 กิโลกรัม ความยาว 2.15 เมตร ตัวเมียมีสีลำตัวเป็นสีน้ำตาล-เทา น้ำหนักราว 57 กิโลกรัม และมีความยาว 1.56 เมตร ถิ่นอาศัย, อาหาร ออกจับปลาในทะเลใกล้เกาะเล็ก ๆ และขึ้นฝั่งบนเกาะบริเวณชายหาดที่เป็นโขดหินที่มีการขึ้นลงของน้ำทะเลในเขตแอฟริกาใต้ กินปลาเป็นอาหารหลักรวมทั้งปลาหมึกและหอย พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ แมวน้ำเคปเฟอร์ซีลเป็นสัตว์สังคม อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ชอบล่าเหยื่อและหากินตามผิวน้ำหรือน้ำตื้นๆ หากินปลาตามเรือของชาวประมง ในช่วงกลางเดือนตุลาคม ตัวผู้จะไปยังพื้นที่ผสมพันธุ์ซึ่งเป็นชายหาดที่เป็นโขดหินและประกาศอาณาเขต อีกหลายสัปดาห์ต่อมาตัวเมียจะตามเข้ามาเพื่อออกลูกจำนวน 1 ตัว ซึ่งจะมีตัวเมียหลายตัวเข้ามาในอาณาเขต ตัวผู้ที่ครองอาณาเขตจะไล่ตัวผู้ตัวอื่นออกนอกอาณาเขตหากล้ำเข้ามา จนกว่ามันจะได้ผสมพันธุ์กับตัวเมียทุกตัว ตัวเมียจะเป็นสัดหลังการออกลูก 5 - 6 วัน และมีระยะการตั้งท้องนานประมาณ 1 ปี สถานภาพปัจจุบัน สถานที่ชม สวนสัตว์เชียงใหม่

เต่าญี่ปุ่น


การเลี้ยงเต่าญี่ปุ่น

โดย จอนฟอน จอมป้วนเปี้ยน

ช่วงนี้บ้านเมืองง่อนแง่นโงนเงน ถึงตอนนี้จะเลือกตั้งเสร็จแล้ว แต่บรรยากาศก็ยังมาคุ มาคุ ดูทะแม่งๆอยู่ดี นักการเมืองร้อนรนวิ่งกันขาขวิด เราประชาชนตาดำๆไม่ต้องร้อนรน มานั่งดูเต่าน้ำแสนน่ารักเล่นๆให้เย็นใจดีฝ่า ฮ่าๆ เอิ๊ก ประกอบกับช่วงนี้มีคนตั้งกระทู้ถามกันเยอะแยะมากมายเลยครับ แสดงให้เห็นถึงเต่าที่ความนิยมอันดับหนึ่ง ครองใจผู้เลี้ยงได้อย่างอำตะนิรันดร์กาลจริงๆครับ... เต่าญี่ปุ่นครับ เต่าญี่ปุ่นมีชื่อสามัญภาษาฝรั่งว่า Red-eared sliders (Trachemys scripta elegans) มีถิ่นกำเนิดไล่ขึ้นไปตั้งแต่ใต้สุดของโอกินาว่าขึ้นไปจนถึง......จว๊าก ชื่อพาเคลิ้ม ความจริงแล้วเต่าญี่ปุ่นไม่ได้มาจากญี่ปุ่นและก็ไม่ได้มีถิ่นกำเนิดที่ญี่ปุ่นนะครับ แต่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา ในแหล่งน้ำของรัฐมิสซิสซิปปี้ แล้วก็ไล่ตั้งแต่แถวๆ อิลินอยส์ ไปจนถึงอ่าวเม็กซิโกเลยครับ แล้วทามมายมันชื่อเต่าญี่ปุ่น อันนี้เซียนท่านบอกไว้ว่า ก็เพราะว่าถิ่นกำเนิดนั้นอยู่ทวีปอเมริกาและนำเข้าไปเป็นสัตว์เลี้ยงที่ประเทศญี่ปุ่น แล้วคนไทยก็ไปเอานำเข้ามาจากญี่ปุ่นอีกที ก็เลยตั้งชื่อทางการค้าง่ายๆว่าเต่าญี่ปุ่นนั่นเองครับ เต่าญี่ปุ่นเป็นเต่าน้ำ(เต่าชายน้ำ)มีเท้าเป็นพังผืดว่ายน้ำได้ดี ตอนเด็กๆกระดองค่อนข้างกลม สีเขียวมีลวดลาย คล้ายลายไม้ ผิวหนังก็เป็นสีเขียวมีลวดลายเช่นกัน บริเวณหางตาทั้งสองข้างมีแถบสีแดงอันเป็นที่มาของชื่อเต่าหูแดงหรือเต่าแก้มแดงนั่นเองครับ พอโตขึ้นสีเขียวสดบนกระดองจะจางลงและกลายเป็นสีน้ำตาลอาจยังมีลายเขียวๆหลงเหลืออยู่บ้าง ขนาดความยาวตัวเมียประมาณ 1 ฟุต ตัวผู้ขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย ถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 2 ปีขึ้นไป โตเต็มที่เมื่อมีอายุ 7 ปี อายุขัยโดยเฉลี่ย 30 ปี

เต่าญี่ปุ่นเป็นเต่าที่กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร ในขณะที่ยังเป็นเด็กจะต้องการเนื้อสัตว์เป็นอาหารมากกว่าพืชในอัตราส่วนเนื้อสัตว์ร้อยละ70 พืชร้อยละ30 แต่เมื่อโตขึ้นเต่าญี่ปุ่นจะกลับเนื้อกลับตัว บริโภคพืชเป็นส่วนใหญ่ ในอัตราส่วน พืชร้อยละ90 เนื้อสัตว์ร้อยละ10 (Wilke,1979) เต่าญี่ปุ่นที่เราเลี้ยงส่วนมากจะซื้อมาตั้งแต่เต่ายังเล็ก ก็ควรให้อาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ อาทิเช่น กุ้งฝอย เนือปลา หนอนนก หนอนแดง ไส้เดือน ฯลฯ รวมถึงอาหารปลา อาหารเต่าสำเร็จรูปต่างๆด้วยครับ ไม่ควรให้อย่างเดียวชนิดเดียวตลอด ควรให้หลายอย่างสลับสับเปลี่ยนคละเคล้ากันไป พวกพืชก็ให้ไดหลากหลายครับ ผักบุ้ง ผักกาด คะน้า กวางตุ้ง ตำลึง ใบผักตบชวา ฯลฯ โดยนิสัยเต่าญี่ปุ่นจะกินในน้ำเป็นหลัก (แต่ก็สามารถงับอาหารบนบกได้) ดังนั้นก็ใส่อาหารลงไปในน้ำเลยครับเดี๋ยวเค้าจัดการกันเอง เนื่องจากเต่าญี่ปุ่นเป็นเต่าน้ำ (เต่าชายน้ำ) อาศัยอยู่ในน้ำ กินอยู่ขับถ่ายก็กระทำในน้ำ ดังนั้นจึงควรรักษาความสะอาดน้ำในที่เลี้ยงอย่างสม่ำเสมอ หรือถ้าติดระบบกรองน้ำแบบเลี้ยงปลาสวยงามไปเลยก็ดีเลยครับ ภาชนะที่ใช้เลี้ยงพื้นฐานสุดๆก็คงจะเป็นตู้ปลาครับ เลือกขนาดตู้ปลาก็ขอให้ใหญ่ๆหน่อย เพราะเต่าตัวนี้อัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างเร็วครับ แต่จะว่าไปตู้ปลาก็ไม่ใช่ภาชนะที่เหมาะสมสำหรับเลี้ยงเต่าญี่ปุ่นนะครับ เต่าญี่ปุ่นไม่ต้องการน้ำที่ลึกมาก เลี้ยงในอ่างหรือบ่อกว้างๆใหญ่ๆดีกว่าครับ เพราะเต่าญี่ปุ่โตเต็มที่เป็นฟุตนะครับ

เนื่องจากเต่าญี่ปุ่นเป็นสัตว์เลือดเย็น แสงแดดจากดวงอาทิตย์จึงจำเป็นต่อเต่ามากๆๆๆๆๆ สถานที่เลี้ยงก็ควรเป็นที่ๆรับแสงธรรมชาติได้อย่างน้อย 1-2ชั่วโมง โดยมีร่มเงาไว้ให้หลบร้อนด้วย เต่าญี่ปุ่นชอบขึ้นมาอาบแดดบนบกเอามากๆ ดังนั้นจึงควรจัดให้มีตลิ่ง เชิง ชาน ดิน กรวด ทราย หรืออะไรก็ตามที่เป็นบกให้น้องเต่าขึ้นมาอาบแดดได้ แสงแดดจะช่วยเพิ่มอุณหภูมิให้ร่างกาย ช่วยย่อยอาหาร การเจริญเติบโต ช่วยดึงสารอาหารไปใช้ รวมถึงฆ่าเชื้อโรค เชื้อราที่ติดอยู่ตามกระดองและผิวหนังให้หมดไป
ถ้าไม่สะดวกพาเต่ามาอาบแดด ก็มีหลอดยูวีสำหรับสัตว์เลื้อยคลานต่างๆ ซื้อมาใช้ก็พอถูไถไปได้ แต่ยังไงก็สู้แสงแดดธรรมชาติไม่ได้หรอกครับ ฮ่าๆๆ

ในขณะยังเด็กเต่าญี่ปุ่นจะยังไม่สามารถแยกเพศได้ชัดเจน จะเริ่มดูออกเมื่อเต่ามีขนาด 3-4 นิ้วขึ้นไป โดยตัวเมียจะตัวใหญ่และโตเร็วกว่าตัวผู้อย่างเห็นได้ชัด ตัวผู้จะหางยาวกว่า เล็บยาวแหลม ท้องกระดองเว้า ตัวเมียเล็บสั้น หางสั้น ท้องกระดองแบนราบ เต่าญี่ปุ่นมีวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 2 ปีขึ้นไป เต่าจะเริ่มผสมพันธุ์วางไข่ 2 ช่วง คือ เดือนมีนาคมและมิถุนายน และจะวางไข่ช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม การผสมพันธุ์จะดำเนินการกันในน้ำนะครับ โดยตัวผู้จะว่ายน้ำตามตัวเมีย และเมื่อตัวเมียพร้อม ตัวเมียจะหยุดและทิ้งตัวลงใต้น้ำ ตัวผู้จะตามไปใช้เล็บยาวๆเกาะที่กระดองตัวเมีย ส่วนเว้าของกระดองตัวผู้ ก็จะประกบกับส่วนโค้งของกระดองตัวเมียพอดี จากนั้นตัวผู้ก็จะ... จว๊าก ไม่ต้องเล่ามากก็ได้ตอนนี้.. จำนวนไข่ของเต่าญี่ปุ่นที่มีการบันทึกเอาไว้ก็ประมาณ 4-23 ฟอง โดยจะวางไข่บนบก แม่เต่าจะขุดหลุมวางไข่บนพื้นดิน ใช้เวลาประมาณ 60-75 วันเพื่อฟักเป็นตัว ใครจะเพาะพันธุ์สถานที่ก็ควรมีทั้งน้ำทั้งบกทั้งพื้นดินนะครับ เต่าญี่ปุ่นโตมาตัวก็ใหญ่ กินเยอะขี้ก็เยอะ สีก็เปลี่ยนไปไม่สวยน่ารักเหมือนเก่า เหม็นก็เหม็น เลี้ยงไปเลี้ยงมาเมื่อไหร่คิดได้ดังนี้แล้วก็อย่าเอาไปปล่อยตามแหล่งน้ำธรรมชาตินะครับ เต่าญี่ปุ่นจะไปแย่งที่อยู่และแหล่งอาหารของเต่าพื้นเมืองของเรา เต่าญี่ปุ่นกินก็เก่งกินไม่เลือก ขยายพันธุ์ง่าย อัตราการรอดสูงแถมไข่เยอะอีก ผิดกับเต่าไทยของเราไข่ทีน้อยจัง ยังไงก็คิดพิจราณาศึกษาก่อนเลี้ยง วางแผนและเตรียมการจัดการให้ดีๆ เพื่อเต่าแสนรักของเรานะคร๊าบบบ..

จระเข้น้ำจืด


ลักษณะทั่วไป จระเข้น้ำจืดตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมียมีขนาดยาวประมาณ 12 ฟุต แต่ตัวผู้มีหางยาวกว่าตัวเมีย และมักมีจำนวนเกล็ดที่ห่างมากกว่า จระเข้น้ำจืดหัวทู่สั้นกว่าจระเข้น้ำเค็ม มีเกล็ดท้ายท้อย 4 เกล็ดเรียงให้เห็นชัด เท้าหลังมีพังผืดเล็กน้อย หางจระเข้มีกำลังมากใช้โบกพัดไปมาช่วยในการว่ายน้ำ หรือเป็นอาวุธ สามารถฟาดหางทำให้คนหรือสัตว์ได้รับอันตรายได้ ปกติไม่ได้ใช้ขาในการว่ายน้ำ ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในเอเชียแถบประเทศกัมพูชา อินโดนีเซีย และประเทศไทย จระเข้น้ำจืดกินสัตว์ที่มีขนาดกลาง เช่น ปลา กบ นก รวมทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก ถ้าอาหารมีขนาดใหญ่มันจะคาบอาหารแล้วเหวี่ยงไปมาทำให้อาหารขาดออกเป็นชิ้น ๆ อาหารจะถูกย่อยอย่างช้า ๆ ทำให้ไม่ต้องกินอาหารประมาณ 15-30 วัน หลังจากนั้นจึงกินอีกครั้งหนึ่ง พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ชอบอยู่ตัวเดียว ตามแหล่งน้ำนิ่งซึ่งมีความลึกไม่เกิน 5 ฟุต และมีที่ร่ม ในช่วงอากาศร้อนจะแช่ตัวในน้ำ ถ้าอากาศหนาวจะขึ้นมาผึ่งแดดบนบกในตอนกลางวัน จระเข้น้ำจืดมักผสมพันธุ์กันในฤดูหนาวซึ่งในระยะนี้ตัวผู้จะต่อสู้กันเพื่อแย่งชิงเป็นเจ้าของตัวเมีย การผสมพันธุ์มีปีละครั้ง จระเข้น้ำจืดเริ่มวางไข่โดยตัวเมียจะขุดดินที่อยู่ใกล้น้ำที่เป็นดินทรายกว้าง 40-50 เซ็นติเมตร แล้วออกไข่ประมาณ 20-40 ฟอง เมื่อวางไข่เสร็จแล้ว จระเข้จะกวาดใบไม้รอบ ๆ หลุมไข่มารวมพูนกองบนรังไข่เพื่อป้องกันฝน จากระยะออกไข่จนฟักเป็นตัว ระยะนี้จระเข้จะดุร้ายมาก ศัตรูตามธรรมชาติของไข่จระเข้น้ำจืดนอกจากคนแล้วก็มี เหี้ย ตะกวด ชะมด อีเห็น ซึ่งมาลักไข่ของมันไปกิน เมื่อฟักไข่ครบกำหนดแล้วจระเข้ตัวอ่อน ๆ ก็จะเจาะเปลือกไข่ออกมาเอง สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา

ปลาเสือตอ


ลักษณะทั่วไปของปลาเสือตอปลาเสือตอมีลำตัวเล็กแบนข้างส่วนที่เป็นหน้าผากขาวลาด ปากกว้าง และยืดหดได้ ครีบหลังยาวแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นหนามแข็ง 12 อัน ส่วนหลังเป็นก้านครีบอ่อนครีบล่างส่วนแรกเป็นหนามแข็งขนาดใหญ่ลดหลั่นกัน 3 อัน ส่วนหลังเป็นก้านครีบอ่อนเป็นแผ่นใสขอบกลม หางเป็นรูปมนมีเกล็ดขนาดเล็กรอบเกล็ดมีหนาม ลำตัวมีสีครีมออกชมพูและสีเหลือง มีแถบดำใหญ่พาดขวางลำตัวประมาณ 6 แถบ ขนาดความยาวเมื่อโตเต็มที่มีความยาว 16 นิ้วปลาเสือตอที่นิยมในตลาดปลาสวยงามในประเทศไทยมีอยู่ประมาณ 3 สายพันธุ์ เป็นสายพันธุ์เสือตอน้ำจืด 2 สายพันธุ์และสายพันธุ์เสือตอน้ำกร่อยอีก 1 สายพันธุ์ลักษณะที่เป็นความสวยงามเฉพาะตัวของปลาเสือตอคือ รูปทรงที่แบนกว้าง มีพื้นสีเหลืองสดใส มีลายดำพาดขวางลำตัวอย่างได้ส่วน เวลาเคลื่อนไหวครีบบนครีบล่างส่วนท้ายอ่อนพลิ้ว ครีบท้องหรือครีบตะเกียบมีสีเหลืองตัดสีดำเหยียดตรง มีชายพู่ตะเกียบ 3-4 เส้น ดูสง่างามโดยเฉพาะเวลาตามเหยื่อ หนามแข็งส่วนหน้าของครีบจะชี้ตัวขึ้น ครีบหนามล่างจะเหยียดลงทำให้ดูสวยงาม ปกติชอบอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำที่มีตอไม้จึงจะได้ชื่อว่า "ปลาเสือตอ" การเลี้ยงปลาเสือตอในแหล่งน้ำธรรมชาติ ปลาเสือตอจะอาศัยอยู่บริเวณน้ำลึกในฤดูร้อนเพื่อวางไข่และย้ายตำแหน่งในฤดูน้ำหลาก ปลาเสือตอขนาดเล็กในแหล่งน้ำธรรมชาติกินอาหารประเภทสัตว์น้ำขนาดเล็กแทบทุกชนิด ส่วนปลาเสือตอขนาดใหญ่ชอบกินกุ้งฝอยและลูกปลา ส่วนปลาเสือตอที่นำมาเลี้ยงในตู้กระจกสามารถฝึกให้กินเหยื่อชนิดอื่นๆเช่น เนื้อสัตว์ เนื้อปลา กุ้ง และหนอนมีลเวิร์มแต่ต้องใช้ความพยายามในการฝึกค่อนข้างนานกว่าปลาชนิดอื่นวิธีฝึกให้กินเหยื่อ ต้องนำปลาชนิดอื่นที่กินเหยื่อนั้นดีอยู่แล้ว และมีขนาดไล่เลี่ยกับปลาเสือตอฝูงที่จะฝึกมาใส่รวมกันและเลี้ยงด้วยอาหารชนิดนั้น ปลาที่เคยกินเหยื่อจะชักนำให้ปลาเสือตอที่ไม่เคยกินเหยื่อชนิดนั้นแย่งกินเป็นบางครั้ง หากปลาเสือตอคายเหยื่อจะต้องคอยตักออกเมื่อฝึกไปสัก 3-4 สัปดาห์ ปลาเสือตอจะเริ่มคุ้นเหยื่อที่ให้ในระยะแรกหากปลาเสือตอที่ต้องการฝึกยังไม่ยอมกินต้องใช้เหยื่อเป็นคือ ลูกกุ้งฝอย ปลาเล็ก เป็นๆใส่ให้กินแต่น้อย เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาท้องกิ่วตาย การเพาะขยายพันธุ์ปลาเสือตอปลาเสือตอสามารถวางไข่โดยวิธีธรรมชาติ โดยไม่จำเป็นต้องใช้การฉีดฮอร์โมนเข้าช่วย ช่วงการวางไข่ประมาณเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ปลาเสือตอเพศผู้จะมีขนาดโตเต็มวัยเมื่อมีน้ำหนักประมาณ 300-400 กรัม ส่วนปลาเสือตอเพศเมียขนาด 800 กรัมจะได้วัยเจริญพันธุ์ไข่ปลาเสือตอเป็นไข่ประเภทลอยน้ำ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ใช้เวลาฟักออกเป็นตัวประมาณ 14-17 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิประมาณ 29 องศาเซลเซียส และถุงอาหารจะยุบภายในเวลา 2-3 วัน อาหารที่เหมาะสมของลูกปลาเสือตอวัยอ่อนควรเป็นแพลงก์ตอนสัตว์ขนาดเล็ก เช่นโรติเฟอร์ในระยะ 3-10 วันแรก และใช้ไรแดงเลี้ยงอนุบาลจนได้ขนาด 3 เซนติเมตรขึ้นไป จึงใช้หนอนแดงอาร์ทีเมียขนาดใหญ่หรือลูกปลาขนาดเล็กให้กินเป็นอาหาร โรคและปัญหาของปลาเสือตอโรคของปลาเสือตอมักจะเกิดจากปรสิตที่ติดมากับปลาเสือตอในธรรมชาติที่พบอยู่เป็นประจำคือ- ฝีตามตัว มีลักษณะเป็นตุ่มตามตัวหรือส่วนทวารขนาดค่อนข้างใหญ่เป็นตุ่มบวมปูดออกจากผิวหนังวิธีรักษาคือ ให้แยกปลาที่มีอาการป่วยออกมาใส่ตู้พยาบาลที่มีระบบกรองน้ำและให้อากาศค่อนข้างแรงจึงอดอาหารไว้ 2-3 วันแล้วใช้ยาปฏิชีวนะผสมน้ำ 1 ช้อนโต๊ะต่อ 1 แคปซูลราดลงบนตัวกุ้งฝอยเป็นๆที่กรองแห้งไว้แล้วเทให้ปลากิน 1 วันครั้ง สัก 2-3 ครั้ง- โรคอิ๊กหรือจุดขาว เกิดจากเชื้ออิ๊ก ใช้ยาซุปเปอร์อิ๊กที่มีขายอยู่ตามร้านขายปลาทั่วไป แช่ปลาตามอัตราส่วนที่กำหนดปลาเสือตอมีสีคล้ำเป็นลักษณะ แสดงความไม่สมบูรณ์และเจ็บป่วย เพราะสีของปลาเสือตอแสดงถึงความสมบูรณ์และอารมณ์ของปลา ปลาเสือตอที่ตกใจหรือป่วยจะออกสีดำ ครีบหุบ ลักษณะของปลาที่สมบูรณ์ครีบจะกางสีออกเหลืองสดใส ลายดำออกซีด ครีบกางตั้งทั้งปลาขนาดเล็กจนถึงปลาขนาดใหญ่ ตลาดปลาเสือตอปลาเสือตอที่พบในแหล่งน้ำทางภาคอีสานเป็นปลาเสือตอลายเล็กมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coius Undecimraciatus หรือในชื่อเรียกที่รู้จักในตลาดปลาสวยงามว่า "เสือตอลายเล็ก" พบมากในแม่น้ำโขงแถบจังหวัดหนองคาย นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี ยโสธร ในแม่น้ำมูล มีจำนวนค่อนข้างมาก ราคาซื้อขายขนาดเล็ก 2 นิ้วฟุต ตัวละ 20-50 บาท ปลาเสือตออีกชนิดหนึ่งคือ ปลาเสือตอน้ำกร่อยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coius Quadrifasciatus หรือเรียกว่า "ปลากะพงลาย" เป็นปลาเสือตอที่ลายเล็กที่สุดมีนิสัยค่อนข้างก้าวร้าว พบในแหล่งธรรมชาติตามปากแม่น้ำแทบทุกแห่งทั่วประเทศ จัดเป็นปลาเสือตอที่ราคาถูกที่สุดปลาเสือตอชนิดที่นิยมและมีราคาสูงที่สุดในปัจจุบันคือ ปลาเสือตอลายใหญ่และเสือตอลายคู่(ลาย 7 ขีด) ปลาเสือตอทั้ง 2 ชนิดนี้ต้องนำเข้ามาจากประเทศเขมร เป็นปลาที่จับจากแหล่งน้ำธรรมชาติ คือ ทะเลสาบในประเทศเขมรโดยมีพ่อค้าคนกลางเก็บรวบรวม ปลาเสือตอทุกขนาดลำเลียงเข้ามาในประเทศไทยเพื่อขายส่งต่อไปยังต่างประเทศทั่วโลกเป็นสินค้าปลาสวยงามนิ้วละ 60-100 บาท ส่วนปลาเสือตอลายคู่ราคาจะสูงกว่าปลาเสือตอลายใหญ่เกือบ 3 เท่าตัว

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ปลาพะยูน


พะยูน มีชื่อเรียกหลายชื่อไม่ว่าจะเป็น หมูน้ำ วัวทะเล หมูดุด และดูกอง แตกต่างกันออกไปตามถิ่น บางคนก็เรียกเจ้าสัตว์ชนิดนี้ว่า เงือก เชื่อว่าพะยูนมีบรรพบุรุษร่วมกับช้าง แต่วิวัฒนาการอาศัยอยู่ในทะเล ปัจจุบันเหลือพบในประเทศไทยเพียงสกุลเดียว คือ ดูกอง( Dugong )
ส่วนมากอยู่เป็นฝูงตามชายฝั่งน้ำตื้นมากกว่าน้ำลึกและเป็นบริเวณที่คลื่นลมไม่แรง ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในการกินหญ้าทะเลที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืนในช่วงน้ำขึ้น และหลบไปอาศัยในร่องน้ำในช่วงน้ำลง ถ้าในบริเวณที่อยู่อาศัยเกิดคลาดแคลนหญ้าทะเล พะยูนจะกินสาหร่ายแทนหรืออพยพไปหาหญ้าทะเลแหล่งใหม่ ในไทยมีพะยูนอยู่ทั้งสองฝั่งคือทั้งอ่าวไทยและอันดามัน แต่ก็มีจำนวนน้อยมาก
บริเวณทะเลระหว่างบ้านเจ้าไหม-เกาะลิบงเป็นที่อาศัยของพะยูน พะยูนปกติจะเป็นสัตว์รักสงบที่ใกล้สูญพันธู์ เลี้ยงลูกด้วยนมอาศัยอยู่ในทะเล จัดเป็นสัตว์ทะเลที่เลี้ยงลูกด้วยนมและกินพืชชนิดเดียวที่เหลืออยู่ ชอบอาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลที่มีระดับน้ำค่อนข้างตื้น ประมาณ 1-12 เมตร
พะยูนหากินอยู่ตามแนวหญ้าทะเลที่มีความลึกประมาณ 1-3 เมตร และหลบหลีกศัตรูลงไปที่ความลึกราว 2-7 เมตร โดยเฉพาะที่มีน้ำทะเลขุ่น ปราศจากคลื่นลมรุนแรง เพราะเป็นการง่ายต่อการทรงตัวในน้ำขณะกินหญ้าทะเล พะยูนมีรูปร่างทรงกลมกระสวย ช่องท้องกว้าง ช่วงหัวสั้นเล็ก มีลักษณะพิเศษตรงที่หางเป็นแฉกและมีเขี้ยว หางแผ่แบนใหญ่แนวราบ ตาขนาดเล็ก การมองเห็นไม่ดีนัก แต่มีหูขนาดเล็กที่รับเสียงผ่านมาทางน้ำได้เป็นอย่างดี มีรูจมูกอยู่ตอนหน้าเปิดขึ้นด้านบน ผิวหนังของพะยูนหนามาก มีขนเป็นเส้นหยาบกระด้างกระจายอยู่ทั่วไป มีสีผิวเทาอมชมพู ขนาดของพะยูนมีความยาวตั้งแต่ 1-4 เมตร ลูกพะยูนเกิดใหม่มีความยาวเกือบ 1 เมตร และมีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 60-100 กก.
ทั้งภาครัฐและเอกชนรวมถึงชุมชนท้องถิ่นต่างสนับสนุนการอนุรักษ์พะยูน สืบเนื่องจากวิกฤตการณ์ต่างๆไม่ว่าจะเป็นการติดเครื่องประมงโดยบังเอิญ ความเสื่อมโทรมของหญ้าทะเลที่เป็นแหล่งอาหาร สภาวะมลพิษต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุให้จำนวนพะยูนลดลงอย่างรวดเร็ว อัตราการตายของพะยูนสูงถึง 12 ตัวต่อปี คาดว่าปัจจุบันในประเทศไทยเหลืออยู่ไม่เกิน 200 ตัวและอาจสูญพันธุ์ในเวลาไม่กี่ปีข้างหน้า
เขตน้ำลึกหน้าเกาะลิบงตลอดแนวด้านนี้ในวันที่น้ำเต็มสามารถออกไปเฝ้ามองดูพะยูน ชมแหล่งอาศัยของพะยูนได้ (แต่โอกาสที่จะพบตัวมีน้อยมากครับ)ถ้าต้องการชมฝูงพะยูนให้ได้อย่างแน่นอนบางครั้งอาจต้องใช้บริการเครื่องร่อน(ชั่วโมงละ 1500 บาท)ของอุทยานที่อยู่บริเวณหัวเกาะ

ปลานีโม


ปลาการ์ตูน(อังกฤษ:Clownfish) เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในทะเล มีหลายพันธุ์ จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับพวกปลาสลิดหิน (Pomacentridae) พบอาศัยอยู่ตามแนวปะการังในบริเวณเส้นศูนย์สูตรทั่วโลก อาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเล มีสีสันสวยงาม ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ อยู่กันเป็นครอบครัว สามารถเปลี่ยนเพศได้ กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร เป็นปลาที่หวงถิ่นมากจะมีเขตที่อยู่ของตนเอง ปลาการ์ตูนออกลูกเป็นไข่ พ่อแม่ปลาจะช่วยกันเลี้ยงดูลูก
ปลาการ์ตูนมีทั้งหมด 28 ชนิด ในเมืองไทยพบปลาการ์ตูน 7 ชนิด
[1] พบทั้งอ่าวไทยและอันดามันได้แก่ ปลาการ์ตูนส้มขาว ปลาการ์ตูนอินเดียแดง ปลาการ์ตูนแดง ปลาการ์ตูนมะเขือเทศ ปลาการ์ตูนอานม้า ปลาการ์ตูนลายปล้อง ปลาการ์ตูนอินเดียนชอบอยู่กับดอกไม้ทะเล ที่มีเข็มพิษสำหรับป้องกันอันตรายแต่ไม่เป็นอันตรายกับปลาการ์ตูนทำให้สามารถอยู่กันอย่างพึ่งพาอาศัยกัน ที่ปลาการ์ตูนไม่ตายเพราะพิษของดอกไม้ทะเลนั้นเพราะมีเมือกเคลือบทั้งตัวถ้าเอาเมือกออกปลาการ์ตูนก็จะถูกพิษของดอกไม้ทะเลตาย ปลาการ์ตูนแต่ละชนิดจะชอบอาศัยอยู่ตามดอกไม้ทะเลไม่เหมือนกันปัจจุบันได้มีการเพาะพันธุ์ได้ตามศูนย์วิจัยต่าง ฟาร์ม เพื่อจำหน่าย แต่ลูกปลาที่ได้จากการเพาะพันธุ์ไม่สามารถนำไปปล่อยแหล่งที่อยู่ตามธรรมชาติของปลาได้ เพราะว่าปลาไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติได้ไม่สามารถป้องกันตัวเองจากปลาใหญ่ชนิดต่างๆ จึงต้องไปเป็นเหยื่อกับปลาที่อยู่ตามธรรมชาติ

ปลาโลมา


ตำนานกรีก เล่าว่า เทพแห่งไวน์ ของกรีก ชื่อ ไดโอนีซอส (Dionysos) แปลงลง มาเป็นมนุษย์ และได้ โดยสารเรือ ข้ามจาก เกาะอิคาเรีย (Ikaria) ไปยังเกาะนาซอส ในทะเล เมดิเตอร์เรเนียน
ไดโอนีซอสนั้น แม้จะ เป็นเทพ ทว่า ไม่มีญาณ หยั่งรู้ว่า เรือลำที่ตน โดยสาร ไปนั้น เป็นเรือโจร ลูกเรือ จะปล้น ผู้โดยสาร ทุกคน ถ้วนหน้า เมื่อถึงคราว ของ ไดโอนีซอส เขาจึง ถูกลูกเรือ ปล้น และคิด จะจับเขา ไปขาย เป็นทาส
ด้วยเหตุนี้ เขาจึง จำต้อง แสดงตน ว่าเป็นเทพ และสาป ให้เรือ มีเถาองุ่น ขึ้นเต็ม มีเสียงขลุ่ย ดังขึ้น ในเรือ พวกลูกเรือ ตกใจ จึงกระโดดน้ำ หนีไปหมด กลายเป็นปลา โลมา มาจนกระทั่งทุกวันนี้
เมื่อกลายเป็น ปลาโลมา นิสัย ของลูกเรือ เปลี่ยนไป กลายเป็นสัตว์ ที่ใจดี มีเมตตา แถมยังช่วยเทพแห่งสมุทร คือ โพซิดอน หาเจ้าสาวอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ ปลาโลมา จึงได้รับเกียรติ จากโพซิดอน ตั้งชื่อ กลุ่มดาว กลุ่มหนึ่งว่า กลุ่มดาวโลมา อีกด้วย
ที่จริงแล้ว โลมา เคยเป็นสัตว์ เลี้ยงลูก ด้วยนมที่อยู่ บนบก เหมือนมนุษย์ แต่เพื่อ ความพยายาม หาอาหาร เลี้ยงปาก เลี้ยงท้อง และหนีศัตรู โลมา จึงค่อยๆ ปรับตัว ให้ลงไปอยู่ ในน้ำ เพื่อความอยู่รอดแทน
นั่นเป็น ตำนาน ของคน โบราณ แต่ในความ เป็นจริงแล้ว โลมา เป็นสัตว์ เลือดอุ่น อาศัย อยู่ในน้ำ คลอดลูก เป็นตัว แถมยัง เลี้ยงลูก ด้วยนม เหมือนมนุษย์ และยัง เป็นสัตว์น้ำ ที่น่ารัก เสียด้วย

สำรวจสรีระของโลมา

โลมา อาศัยอยู่ กระจัด กระจาย ทั่วไป ใน มหาสมุทร นับร้อยชนิด แต่ที่เรารู้จัก กันดี มีอยู่ ๒ ชนิด คือ โลมาปากขวด กับ โลมาหัวบาตร โดยเฉพาะ ใน ประเทศไทย
บางครั้งยังพบโลมาอยู่ใน แม่น้ำอีกด้วย เช่น ในแม่น้ำ คงคาที่ประเทศอินเดีย และใน แม่น้ำโขง เป็นโลมาหัวบาตร น้ำจืด
โลมา มีอวัยวะต่างๆทุกๆ ส่วน เหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนมทั่วไป หากแต่ละส่วนของ อวัยวะ จะปรับเปลี่ยน ต่างไป จากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทั่วไป ดังนี้
จมูกโลมามีจมูกไว้หายใจ แต่จมูกนั้นต่างไป จากจมูก ของสัตว์ อื่นๆ เพราะตั้งอยู่ กลาง กระหม่อม เลยทีเดียว เพื่อให้สะดวกต่อการ เชิด หัวขึ้น หายใจเหนือน้ำ จากจมูก มีท่อ หายใจ ต่อลงมา ถึงปอด ในตัว จึงไม่จำเป็น ต้องให้น้ำ ผ่านเหงือก เข้าไป ในปอด เพื่อช่วยหายใจ เหมือนปลาทั่วไป
หู หูของโลมานั้นเป็น เพียงแค่รูเล็กจิ๋วติดอยูด้าน ข้างของหัวเท่านั้น แต่หูของ โลมา มีประสิทธิภาพสูงมาก รับคลื่นเสียง ใต้น้ำ ได้อย่าง ยอดเยี่ยม โดยเฉพาะกับ ภาษา ที่โลมา สื่อสารกัน ด้วยเสียง ที่มี คลื่นความถี่สูง
การมองเห็นโลมามีดวงตา แจ่มใส เหมือนตา สัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนม มีเปลือกตา ปิดได้ และในเวลา กลางคืน ตาก็จะเป็น ประกาย เหมือนตาแมว ตาของโลมา ไม่มีเมือกหุ้ม เหมือนตาปลา และมองเห็น ได้ไกลถึง ๕๐ ฟุต เมื่ออยู่ในอากาศ
สีผิวสีผิว ของโลมา แต่ละชนิด จะแตกต่างกัน ส่วนมาก จะออก ไปในโทน สีเทา ตั้งแต่เข้ม เกือบดำ จนกระทั่ง ถึงเกือบขาว แต่โดยทั่วไป ปลาโลมาจะมีสีผิว แบบทูโทนคัลเลอร์ คือมีสองสี ตัดกัน ด้านบน เป็นสีเทาเข็ม ด้านล่าง เป็นสีเกือบขาว เพื่อพรางตัว ในทะเล ไม่ให้ ศัตรูเห็น เพราะเมื่อ มองจาก ด้านบน สีเข็มจะกลืน กับสีน้ำทะเล และถ้า มองจาก ด้านล่าง ขึ้นไป สีขาว ก็จะกลืน เข้ากับ แสงแดด เหนือผิวน้ำ

ปลานกแก้ว


ปลานกแก้ว (Parrotfishes) อยู่ในครอบครัว Scaridae โตเต็มที่มีขาดประมาณ 30-70 ซ.ม. อาศัยอยู่ตามแนวปะการังพบได้ในทะเลอ่าวไทยและฝั่งอันดามันที่พบในประเทศมีมากกว่า20สายพันธุ์ กินฟองน้ำปะการังหรือสาหร่ายเป็นอาหาร บ่อยครั้งจะพบรวมฝูงขณะหาอาหาร เวลาว่ายนำจะดูสง่างามเหมือนนกกำลังบินในอากาศ
ปลานกแก้วเป็นปลาที่มีสีสันสวยงาม โดยปลาตัวผู้จะมีสีสันสวยงามปลาตัวเมีย ลำตัวรียาว ส่วนใหญ่มีครีบหางแบบเว้าโดยขอบบนและขอบล่างของครีบหางมักยื่นยาวออก มีฟันคล้ายๆจะงอยปากนกแก้วเพื่อนำมาใช้ขูดกินปะการัง เวลาถ่ายจะถ่ายออกมาเป็นผงตะกอนซึ่งมีประโยชน์ต่อแนวปะการัง สามารถเปลี่ยนเพศได้ เวลานอนปลานกแก้วจะนอนตามซอกหินแล้วปล่อยเมือกออกมาห่อหุ้มร่างกายเพื่อป้องกันอันตรายจากพวกสัตว์ทะเลต่างๆรวมทั้งพวกหนอนพยาธิปรสิตที่จะมาทำร้ายหรือมารบกวน

ปลาฉลามเสือ


ปลาฉลามเสือดาว ปลาฉลามชนิดหนึ่งที่ไม่มีอันตรายต่อมนุษย์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stegostoma fasciatum อยู่ในวงศ์ Stegostomatidae และถือเป็นปลาชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Stegostoma
ปลาฉลามเสือดาวเป็นปลาที่มีครีบหางยาวมาก มีส่วนหัวสั้นทู่ พื้นลำตัว
สีเหลืองสลับลายจุดสีดำคล้ายลายของเสือดาว จึงเป็นที่มาของชื่อ เมื่อยังเล็กอยู่ ลายบนลำตัวจะเป็นสีน้ำตาลดำคาดขาวคล้ายลายของม้าลาย ดังนั้น จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อนึงในภาษาอังกฤษว่า Zebra Shark (ฉลามม้าลาย)
เป็นปลาที่มีไม่มีฟันแหลมคมเหมือนฉลามชนิดอื่น ๆ มีอุปนิสัยชอบนอนอยู่นิ่ง ๆ บนพื้น
ทรายและแนวปะการังใต้ทะเล ในความลึกตั้งแต่ 5-30 เมตร โดยพบในทะเลบริเวณแถบอินโด-แปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย โดยใช้เวลาในช่วงกลางวันนอน กลางคืนออกหากิน อาหารได้แก่ สัตว์มีกระดอง และสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า เมื่อถูกรบกวนจะว่ายหนีไป
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวได้ประมาณ 3 เมตร
ปลาฉลามเสือดาวเป็นฉลามที่ออกลูกเป็น
ไข่ โดยจะวางไข่ในเขตน้ำตื้น ลูกปลาขนาดเล็กอาจจะเข้าไปอยู่ในบริเวณน้ำกร่อยหรือน้ำจืด แถบป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำได้ เมื่อโตขึ้นจึงค่อยย้ายลงสู่ทะเลลึก ดังนั้นลูกปลาขนาดเล็กจึงมักติดเบ็ดหรืออวนของชาวประมงอยู่บ่อย ๆ ซึ่งในทางประมงแล้ว ปลาฉลามชนิดนี้ไม่จัดว่าเป็นปลาที่ใช้ในการบริโภคแต่อย่างใด
นอกจากนี้แล้วยังเป็นปลาที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงาม

ปลามังกร


1. การเตรียมตู้ การเลี้ยงปลามังกรนั้นผู้เลี้ยงต้องคำนึงถึงเรื่องตู้เป็นอันดับแรก มาตรฐานขั้นต่ำที่ใช้เลี้ยงนั้นคือ 60*24*24 นิ้ว หรือ ประมาณ 150*60*60 ซม. จะสามารถเลี้ยงจากขนาดเล็กที่มีขายตามร้านค้าทั่วไปจนถึง ขนาด 24 นิ้ว จะสามารถทำให้ท่านเลี้ยงได้ประมาณ 4-5 ปี แล้วจึงค่อยขยับขยาย” แต่หากท่านที่มีเนื้อที่
ค่อนข้างจำกัดจริงๆก็สามารถเลี้ยงได้ตลอดไป แต่กระจกที่ใช้ควรจะหนาประมาณ 3 หุน ขึ้นไป และ ในกรณีที่พอมีเนื้อที่ในด้านกว้างที่พอจะเพิ่มได้ควรจะกว้างอย่างน้อย 30 นิ้ว หรือ 75 ซม. สูง 36 นิ้ว แต่จะให้ดีก็ กว้าง 36 นิ้ว หรือ 90 ซม. สูง 36 นิ้ว ไปเลยก็จะดี ปลาขนาดใหญ่จะได้ไม่เครียด”( ที่สำคัญอย่าลืมเผื่อกันกระโดดด้วย ประมาณ 4-6 นิ้ว แล้วแต่ขนาดของปลา ) ที่ผมแนะนำอย่างนี้ก็เพื่อผู้เลี้ยงจะไม่ต้องเปลืองสตางค์ซื้อตู้บ่อยๆ แล้วตู้ที่ไม่ได้ใช้เกะกะเต็มบ้านจนต้องยอมขายถูกๆหรือไม่ก็ยกให้ใครไปฟรีๆ แต่ปัญหาที่พบบ่อยปลาเล็กในตู้ขนาดใหญ่ คือ ตื่นกลัว ทำให้การว่ายไม่สง่า ครีบลู่ วิธีแก้คือ หาแท้งค์เมท มาเพิ่มสัก 2-5 ตัว แล้วแต่ขนาดของตู้ ปลาที่ผมอยากจะแนะนำได้แก่ ปลานกแก้ว เป็นตัวหลัก เพราะ เป็นปลาที่ไม่มีข้อเสีย เลย แถมยังข้อดีเพียบ แต่ ไม่ควรใส่จนเยอะเกินไป หรือ นำนกแก้วที่มีขนาดใหญ่กว่าปลามังกรใส่ลงไป ก็จะสามารถแก้อาการตื่นกลัวได้ หากไม่มีปัจจัยอื่นที่ทำให้ปลาตื่นกลัว เช่น เด็กชอบมาทุบกระจก หรือ ตู้ปลาอยู่ตรงทางเดินที่มีคนพลุกพล่าน เป็นต้น
ในกรณีท่านที่ไม่มีข้อจำกัดเรื่องเนื้อที่ เมื่อปลาได้ขนาด 16 –18 นิ้วแล้วจึงย้ายปลาไปอยู่ในตู้ที่ใหญ่ขึ้น จะทำให้ปลาที่ท่านเลี้ยงโตขึ้นโดยไม่สะดุด และการว่ายจะไม่มีปัญหา และปลาจะไม่เกิดความเครียด
เมื่อท่านเลือกขนาดตู้ที่เหมาะสมแล้วนั้นการเลือกระบบการกรองชีวภาพ และรายละเอียดปลีกย่อยทุกอย่างล้วนมีความสำคัญทั้งสิ้น
2. น้ำที่ใช้เลี้ยงปลา จะต้องเป็นน้ำที่ปราศจากคลอรีน บางท่านอาจจะใช้การพักน้ำให้คลอรีนระเหยบ้าง ใช้เครื่องกรองน้ำบ้าง ( ข้อควรระวัง ห้ามใช้เครื่องกรองที่มีวัสดุกรองเป็นเรซินหรือเครื่องกรองน้ำที่ใช้ดื่ม วัสดุกรองที่ใช้กรองคลอรีนจะต้องเป็นถ่านกะลาเท่านั้น หากใช้คาร์บอนชนิดอื่นอาจทำให้น้ำเป็นด่างสูงเป็นอันตรายต่อปลาได้ ) คุณภาพน้ำที่ใช้เลี้ยงปลามังกรนั้นค่อนข้างสำคัญอย่างยิ่ง ถ้าหากให้ผมแนะนำการที่จะได้มาซึ่งคุณภาพน้ำสูงสุดนั้น ควรใช้น้ำปะปาแล้วต่อเครื่องกรองคลอรีนแล้วนำน้ำไปพักให้ตกตะกอนหากน้ำที่พักทิ้งไว้เป็นเวลาหลายวันควรมีหัวทรายตีน้ำไว้เพื่อคงระดับออกซิเจนในน้ำเพื่อป้องกันน้ำเสีย จะทำให้ท่านได้น้ำที่ปราศจากคลอรีน ใสไม่มีตะกอน และมีออกซิเจนสูง อุณหภูมิน้ำในตู้บริเวณผิวน้ำควรอยู่ระหว่าง 30-34 องศาเซลเซียส น้ำที่ต้องห้ามใช้เลี้ยงปลามังกร ได้แก่ น้ำที่มีสารเคมีทุกชนิดปนอยู่ น้ำที่มีฤทธิ์เป็นด่างสูง น้ำฝน น้ำบาดาล น้ำสกปรก คือน้ำที่มีออกซิเจนละลายอยู่ในปริมาณต่ำ
3. อาหาร ที่ใช้เลี้ยงปลามังกรก็มีส่วนสำคัญ ซึ่งมีผลโดยตรงกับการเจริญเติบโตของปลา รวมถึงรูปทรงและสีสันของปลา อาหารที่ใช้เลี้ยงได้แก่ แมลงเกือบทุกชนิด ลูกปลา หนอน ไส้เดือน กบ กุ้งฝอย เนื้อกุ้ง รวมทั้ง อาหารเม็ด การให้อาหารปลามังกรนั้นไม่จำกัดตายตัว ว่าจะต้องกินอย่างไร ซึ่งจะขึ้นอยู่กับ ความสะดวกของผู้เลี้ยง และอุปนิสัยการกินของปลาประกอบเข้าด้วยกัน แต่ที่ผมจะแนะนำคือ ปริมาณอาหารที่ให้ในแต่ละวันนั้นจะต้องไม่มาก หรือน้อยเกินไป โดยส่วนมากแล้วเมื่อปลาอิ่มจะไม่สนใจอาหารแล้วเชิดหน้าใส่ ยกเว้นจะเป็นของที่โปรดปรานจริงๆจึงจะฝืนกินจนพุงกางบางท่านชอบทำแบบนี้แล้วชอบใจว่าปลาของเรากินเก่ง แต่ผลเสียก็คือ ปลาของท่านจะเป็นโรคอ้วน เสียทรง ตาตก เพราะอาหารที่พวกมัน โปรดปรานส่วนใหญ่หนีไม่พ้นอาหารที่มีไขมันสูง อันได้แก่ หนอนนก หนอนยักษ์ จิ้งหรีด กบ ตะพาบ ซึ่งอาหารจำพวกนี้ควรควบคุมปริมาณที่ให้ในแต่ละวัน แต่จะงดไปเลยก็ไม่ดี เพราะจะทำให้ปลาท่านไม่โต หรือโตช้า เนื่องจากอาหารจำพวกนี้จะอุดมไปด้วยโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ใช้ในการเจริญเติบโต การให้อาหารที่ดีนั้น ท่านควรสับเปลี่ยนหมุนเวียนไปเรื่อยๆเพื่อสุขภาพปลาของท่านจะแข็งแรงมีภูมิต้านทานสูง เหมือนกับคนเราที่ได้รับประทานอาหารครบทั้ง 5 หมู่ ยกตัวอย่างให้เข้าใจได้ง่ายดังนี้
เดือนมกราคม หนอนนก กุ้งฝอย ลูกปลา
เดือนกุมภาพันธ์ หนอนยักษ์ กุ้งฝอย ลูกกบ
เดือนมีนาคม จิ้งหรีด กุ้งฝอย เนื้อกุ้ง
เดือนเมษายน ตะขาบ กุ้งฝอย ลูกตะพาบ
เดือนพฤษภาคม แมลงป่อง กุ้งฝอย จิ้งจก
เดือนมิถุนายน ก็กลับหมุนเวียนเอาของเดือนมกราคมขึ้นมาใหม่ เป็นต้น
หรือ จะเอาทุกอย่างมาสับเปลี่ยนหมุนเวียนในแต่ละวันก็ได้ แต่อาหารที่มีทั่วไปหาซื้อง่าย ได้แก่ หนอนนก กุ้งฝอย เนื้อกุ้งสด ลูกปลา จิ้งหรีด ลูกกบ อาหารที่ไม่แนะนำให้ใช้กับปลามังกรได้แก่ แมลงสาบ ถ้าท่านไม่ได้เพาะพันธ์เองไม่ควรใช้ เนื้อหมู หรือ เนื้อวัว จะทำให้ย่อยยาก อาจทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับลำไส้ หรือเมื่อใช้เลี้ยงไปนานๆปลาของท่านอาจจะตายโดยไม่รู้สาเหตุ เพราะในเนื้อหมูหรือเนื้อวัวนั้นจะมีพยาธิบางชนิดค่อยๆกัดกินอวัยวะภายในจนตาย เนื่องจากมันไม่ใช่อาหารของมันตามธรรมชาติ จึงไม่มีกลไกภายในร่างกายสามารถป้องกันได้

วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ปลากระเบน


ปลากระเบน หมายถึง ปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่งที่พบได้ทั้งน้ำจืดสนิท น้ำกร่อย และทะเล มีรูปร่างแบนราบ ปากอยู่ด้านล่าง หากินบริเวณพื้นน้ำ มีหลายวงศ์ (Family) หลายสกุล (Genus) ขนาดแตกต่างหลากหลายไปตามสกุลและชนิด กระจายไปตามเขตอบอุ่นทั่วโลก เช่น ในวงศ์ปลากระเบนหางสั้น (Potamotrygonidae) มีหางสั้น รูปร่างกลมคล้ายจานข้าว ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) รูปร่างค่อนข้างกลม จะงอยปากแหลม หางยาวคล้ายแส้ มีเงี่ยงพิษที่โคนหาง 1 - 2 ชิ้น ที่เมื่อหักไปแล้วสามารถงอกใหม่ได้ ในวงศ์ปลากระเบนไฟฟ้า (Narcinidae และ Torpedinidae) พบในทะเล มีขนาดเล็ก มีรูปร่างต่างไปจากกระเบนชนิดอื่น ๆ และสามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อป้องกันตัวและล่าเหยื่อได้ด้วย

ปลาหมอทะเล


ปลาหมอทะเล มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Epinephelus lanceolatus ในวงศ์ปลากะรัง (Serranidae) มีลักษณะโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับปลาชนิดอื่นที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน มีหัวค่อนข้างโต ปากกว้าง ตาเล็ก ครีบหลังมีก้านครีบแข็งอยู่ตอนหน้าตามด้วยก้านครีบแข็งและต่อด้วยครีบอ่อนเช่นเดียวกัน ครีบหางค่อนข้างใหญ่เป็นรูปกลมมน ลำตัวสีเทาอมดำ เมื่อยังเล็กอยู่ ตามลำตัวมีลายสีเหลืองสลับทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณครีบต่าง ๆ
ปลาหมอทะเลเป็นปลาในวงศ์ปลากะรังที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 2.5
เมตร น้ำหนักหนักถึง 400 กิโลกรัม
เป็นปลากินเนื้อ มีพฤติกรรมกินอาหารโดยการฮุบกลืนเข้าไปทั้งตัว อาจจะกิน
ปลาฉลามขนาดเล็กหรือเต่าทะเลวัยอ่อนได้ ฟันในปากมีขนาดเล็ก เป็นปลาที่สายตาไม่ดี ออกหากินในเวลากลางคืน แม้จะเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่แต่มีนิสัยไม่ดุร้าย เวลาขู่จะแสดงออกด้วยการพองครีบพองเหงือกคล้ายปลากัด ในธรรมชาติมักอาศัยอยู่ตามซากโป๊ะ หรือกองหินใต้น้ำ โดยว่ายน้ำไปมาอย่างเชื่องช้า หรือลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ พบในระดับความลึกตั้งแต่ 4-100 เมตร
พบอาศัยอยู่ใน
ทะเลเขตอบอุ่นในแถบอินโด-แปซิฟิก, ออสเตรเลียทางตอนเหนือ จนถึงอ่าวเปอร์เซีย นิยมบริโภคด้วยการปรุงสดเหมือนปลาในวงศ์นี้ชนิดอื่น ๆ
และด้วยความใหญ่โตของร่างกาย ปลาหมอทะเลจึงมักนิยมเลี้ยงในตู้ขนาดใหญ่หรือในอุโมงค์ของ
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล ภายในมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ปลาดาว


ปลาดาวไม่ใช่ปลา แต่เป็นสัตว์ทะเลชนิดหนึ่งที่มีเปลือกหุ้มรอบตัว ไม่มีกระดูกสันหลังเหมือนอย่างปลา ลำตัวเหมือนถุงกลมๆ คว่ำปากลง จากลำตัวซึ่งเป็นเสมือนศูนย์กลาง มีแขนยาวยื่นออกไปโดยรอบรวมห้าแขน ทำให้มีรูปร่างเหมือนดาว จึงเรียกว่า ปลาดาว หรือดาวทะเล หรือตีนกา ปลาดาวมีหลายชนิด หลายสี เช่น สีแดง เหลือง น้ำเงิน เทา บางชนิดตามแขนมีหนาม ปลาดาวอย่างธรรมดามีขาเป็นหลอดสั้น ๆ เรียงกันอยู่เป็นแถวที่ด้านใต้ของแขนทั้งห้า เมื่อต้องการเคลื่อนตัวไปทางทิศใดก็จะยื่นแขนที่มีปุ่มดูดยืดออกไปเกาะติดกับพื้นแล้วดึงตัวตามไปทางทิศนั้น แขนของปลาดาวเมื่อถูกตัดขาดอาจงอกขึ้นใหม่ได้เช่นเดียวกับหางจิ้งจก ส่วนแขนที่ขาดหลุดไปก็สามารถงอกเป็นตัวได้อีก การฆ่าปลาดาวโดยวิธีสับเป็นชิ้น ๆ จึงเป็นวิธีหนึ่งที่กลับทำให้ปลาดาวเพิ่มจำนวนมากขึ้น ที่ใต้ของลำตัวมีปากเลยจากปากขึ้นไปเป็นกระเพาะ ปลาดาวกินอาหารโดยการยื่นกระเพาะออกมาคลุมหุ้มเหยื่อแล้วชักกระเพาะกลับคืนเข้าไปภายในลำตัว เพื่อย่อยเหยื่อนั้นเป็นอาหารปลาดาวอาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเลตื้น ๆ เช่น ตามแนวปะการัง เดินหาอาหารไปตามพื้นทะเล อาหารของปลาดาวโดยทั่วไป ได้แก่ หอยสองฝา เช่น หอยแครง หอยแมลงภู่และอื่นๆ ปลาดาวบางชนิดกินปะการังเป็นอาหาร

ปลากัด


เนื่องจากปลากัดเป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าวชอบต่อสู้ เมื่อปลาอายุประมาณ 1.5-2 เดือนการเลี้ยงปลากัดจึงจำเป็นต้องรับแยกปลากัด เลี้ยงในภาชนะ เช่น ขวดแบนเพียงตัวเดียวก่อนที่ปลาจะมีพฤติกรรมต่อสู้กันหากแยกปลาช้าเกินไปปลาอาจจะ บอบช้ำไม่แข็งแรง หรือพิการได้ ปลาจะกัดกันเอง ควรจะแยกปลากัดเลี้ยงเดี่ยวๆทันทีที่สามารถแยกเพษได้ เมื่อลูกปลามีอายุประมาณ1.5-2 เดือน จะสังเกตเห็น ว่าปลาเพศผู้จะมีลำตัวสีเข้ม ครีบยาว ลายบนลำตัวมองเห็นได้ชัดเจน และขนาดมักจะโตกว่าเพศเมีย ส่วนปลาเพศเมียจะมีสีซีดจาง มีลายพาดตามความยาวของ ลำตัว 2 -3 แถบ และมักจะมีขนาดเล็กว่าปลาเพศผู้ เพื่อไม่ให้ปลากัดเกิดความเสียหายหรือบอบซ้ำ ควรทำการแยกปลากัดก่อน ซึ่งการดูเพศปลากัดต้องใช้การสังเกต ดังนี้
1.ดูสี ตัวผู้จะมีสีเข้มกว่าตัวเมีย แต่ลายบยลำตัวเห็นได้ชัดเจน ส่วนตัวเมียจะมีสีั ซีดจาง มีลายพาดตามความยาวของลำตัว 2-3 แถบ การดูสีนี้จะดูได้อย่างชัดเจน ยิ่งขึ้นเมื่อปลากัดีอายุตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป2. ดูครีบและกระโดงปลากัดตัวผู้จะมีครีบท้องยาวกว่าของตัวเมียมีกระโดง ยาวไปจรดหาง ส่วนกระโดงของตัวเมียจะสั้่นกว่ามาก3. ดูไข่นำ ซึ่งเป็นจุดขาวๆ ใต้ท้องปลากัดตัวเมีย สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนและ จุดๆ นี้คือท่อนำไข่4. ดูปาก ถ้าลูกปลาตัวใดมีวงปากเป็นสีแดงแสดงว่าลูกปลากัดตัวนั้นเป็นตัวผู้ ซึ่ง เริ่มสังเกตเห็นได้่ตั้งแต่ปลากัดมีอายุน้อยๆ ประมาณ 20 วันขึ้นไป5. ดูขนาดลำตัว ปลาตัวผู้จะมีขนาดลำตัวโตกว่าปลาตัวเมียแม้มีอายุเท่าๆ กัน และเมื่อทำการแยกเพศปลากัดแล้วจึงนำปลากัดไปเลี้ยงไว้ในภาชนะทีเตรียมไว้ภาชนะที่เหมาะสมที่สุดในการเลี้ยงปลากัดได้แก่ขวดสุราชนิดแบน บรรจุน้ำได้ 150ซีซีเพราะสามารถหาได้ไม่ยากนัก อีกทั้งยังมีราคาถูกกว่าการสั่งทำขวดพิเศษสามารถวางเรียงกันได้เป็นจำนวนมากไม สิ้นเปลืองพื้นที่ แต่ปัจจุบันการเลี้ยงเชิงพาณิชย์มักจะสั่งทำขวดโหลชนิดพิเศษ เป็นรูปร่างสี่เหลี่ยม บ้างก็เป็นขวดกลมใหญ่เพื่อเป็นการโชว์ปลากัด แต่ละประเภทหรือแต่ละสายพันธุ์ ได้อย่างชัดเจน เมื่อนำไปวางจำหน่าย

ปลาหมอสี


วงศ์ปลาหมอสี เป็นวงศ์ปลาที่มีจำนวนชนิดมากกว่า 1,000 ชนิด นับเป็นวงศ์ปลาที่มีจำนวนชนิดมากเป็นอันดับสาม รองมาจากวงศ์ปลาตะเพียน และวงศ์ปลาบู่ วงศ์ปลาหมอสีมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cichlidae (ออกเสียงในภาษาอังกฤษว่า ซิค-ลิด-เด) ปลาในวงศ์นี้มีชื่อสามัญภาษาอังกฤษว่า cichlid (ออกเสียงว่า ซิค-ลิด) ภาษาไทยนิยมเรียกว่า ปลาหมอสี หรือ ปลาหมอเทศ
ปลาในวงศ์ปลาหมอสีมีลักษณะหลายหลากแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของถิ่นกำเนิด ปลาหมอสีส่วนใหญ่เป็นปลาน้ำจืด โดยมีบางชนิดพบในน้ำกร่อย ปลาในวงศ์นี้พบมากที่สุดในทวีปแอฟริกา และทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งมีถึง 900 และ 290 ชนิดตามลำดับ บางชนิดพบในตอนล่างของทวีปอเมริกาเหนือ อีกสี่ชนิดพบในตะวันออกกลาง และอีกสามชนิดพบในอินเดีย ปลาในวงศ์ปลาหมอสีมีความสำคัญต่อมนุษย์ในหลายลักษณะ ปลาบางชนิด เช่น
ปลานิล จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว ในขณะที่ปลาอีกหลายชนิดเป็นปลาตู้สวยงาม เช่น ปลาเทวดา ปลาปอมปาดัวร์ และ ปลาออสการ์

ปลาหางนกยูง


ปลาหางนกยูง (Guppy) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Poecilia reticulata ในวงศ์ปลาสอด (Poeciliidae) เป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ไม่เกิน 5 นิ้ว มีจุดเด่นคือครีบหางที่มีขนาดใหญ่ ตัวผู้และตัวเมียมีความแตกต่างกันจนเห็นได้ชัด กล่าวคือ ตัวผู้มีขนาดลำตัวที่เล็กกว่ามาก แต่มีสีสันและครีบที่สวยงามกว่า ขณะที่ตัวเมียตัวใหญ่กว่า ท้องอูม สีสันและครีบเครื่องเล็กกว่า
มีการกระจายพันธุ์บริเวณ
ทวีปอเมริกากลางจนถึงอเมริกาใต้ อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดจนถึงน้ำกร่อยที่มีกระแสน้ำไหลเอื่อย ๆ เป็นปลาอาศัยอยู่รวมเป็นฝูง หากินบริเวณผิวน้ำ โดยกินทั้งพืชและสัตว์น้ำรวมถึงแมลงหรือตัวอ่อนแมลงขนาดเล็กด้วย
ปลาหางนกยูงเป็นปลาที่เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นปลาสวยงาม ใน
ประเทศไทยได้มีการนำเข้ามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยนิยมเลี้ยงกันในอ่างบัว เพราะเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายมาก มีสีสันสวยงาม สามารถเลี้ยงรวมกันเป็นฝูงได้ จากการเป็นปลาผิวน้ำและเป็นปลาขนาดเล็ก ทำให้การเลี้ยงปลาหางนกยูงในอ่างบัว ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องให้ออกซิเจนเหมือนปลาชนิดอื่น ๆ อีกทั้งการแพร่ขยายพันธุ์ก็กระทำได้ง่ายมาก เนื่องจากเป็นปลาที่ปฏิสนธิภายในตัว และออกลูกเป็นตัว โดยปลาตัวเมียเมื่อได้รับการผสมแล้วจะสามารถให้ลูกไปได้ราว 2-3 ครอก ซึ่งการขยายพันธุ์ก็เพียงแค่จับปลาตัวผู้และตัวเมียมาเลี้ยงไว้รวมกันก็สามารถให้ลูกได้แล้ว โดยปลาที่มีความพร้อมที่จะขยายพันธุ์จะมีอายุตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป
ปัจจุบัน ปลาหางนกยูงได้ถูกพัฒนาสายพันธุ์ให้มีสีสันและลวดลายรวมทั้งขนาดลำตัวให้แตกต่าง สวยงามไปจากพันธุ์ดั้งเดิมในธรรมชาติเยอะมาก มีหลายสายพันธุ์ เช่น ทักซิโด้, กร๊าซ, คอบร้า, โมเสค , หางดาบ, นีออน เป็นต้น
จากความเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์ง่าย ทำให้
กระทรวงสาธารณสุขได้รณรงค์ให้คนไทยเลี้ยงปลาหางนกยูงไว้ในภาชนะที่ใส่น้ำในบ้านเพื่อกินลูกน้ำและยุงเพื่อเป็นการป้องกันโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากยุง โดยเรียกว่า "ปลากินยุง" และในปัจจุบัน ปลาหางนกยูงได้กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นชนิดหนึ่งในประเทศไทยไปแล้ว มีการพบในแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไปปะปนกับปลาขนาดเล็กพื้นเมืองทั้งหลาย ซึ่งปลาหางนกยูงส่วนใหญ่ในธรรมชาติที่พบนั้น จะมีลำตัวใส ไม่มีลวดลายทั้งนี้เนื่องจากเป็นผลจากการผสมภายในสายเลือดเดียวกัน