วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

หอยมือเสือ


หอยมือเสือหอย Giant Clam
หอยมือเสือเป็นหอยกาบคู่ขนาดใหญ่ ความยาวของเปลือกประมาณ 25 เซนติเมตร เปลือกทั้งสองมีพื้นสีขาว ด้านในเคลือบมันและเปลือกยึดติดกันด้วยมัดกล้ามเนื้อขณะที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติจะเป็ดกาบทั้งสองอ้าออก ทำให้เห็นเนื้อเยื่อแมนเติลสีน้ำเงินอมเขียว ลักษณะเป็นริ้วพับไปมาตามขอบเปลือกโดยมีช่วงให้น้ำไหลออกนอกร่างกายอีก 1 ช่อง บริเวณตรงกลาง
หอยมือเสือชนิดนี้อาศัยอยู่ตามแนวปะการังทั่วไป โดยใช้เอ็นยึดกาบติดไว้กับก้อนหินหรือก้อนปะการัง กล้ามเนื้อของหอยมือเสือเป็นที่นิยมนำมารับประทาน

แมงกะพรุน


แมงกะพรุน (อังกฤษ: Jellyfish) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมไนดาเรีย ลักษณะลำตัวใสและนิ่มมีโพรงทำหน้าที่เป็นทางเดินอาหารมีเข็มพิษไว้ป้องกันและจับเหยื่อ เมื่อโตเต็มวัย ส่วนประกอบหลักในลำตัวเป็นน้ำ 94-98% ด้านบนเป็นวงโค้งคล้ายร่ม ด้านล่างตอนกลางเป็นอวัยวะทำหน้าที่กินและย่อยอาหาร พบได้ในทะเลทุกแห่งทั่วโลก
แมงกะพรุนมีหลายชนิด เช่น แมงกะพรุนจาน หรือ แมงกะพรุนหนัง สามารถรับประทานได้ ส่วนแมงกะพรุนถ้วย แมงกะพรุนไฟ และแมงกะพรุนลาย มีพิษ อีกทั้งยังมีสายพันธุ์ที่พบในน้ำจืดอีกด้วย มีทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่ Craspedacusta sowerbyi หรือ แมงกะพรุนสายน้ำไหล ในต่างประเทศพบที่
ยุโรปและสหรัฐอเมริกา ในประเทศไทยพบในลำน้ำเข็ก อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์และ Craspedacusta sinensis หรือ แมงกะพรุนสายน้ำนิ่ง พบในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี, กรุงเทพ ฯ ,แม่น้ำโขง ที่ จ.หนองคาย, จ.เลย, จ.มุกดาหาร และ Craspedacusta iseana พบในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทั้ง 3 ชนิดนี้แตกต่างกันที่การเรียงตัวของหนวดและแหล่งที่อยู่อาศัยเท่านั้น ในขณะที่วงจรชีวิตและพฤติกรรมแทบไม่มีอะไรแตกต่างกัน
แมงกะพรุนไฟสายพันธุ์ที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก มีชื่อ
ภาษาอังกฤษเรียกว่า "Portuguese man-of-war" (แมงกะพรุนหมวกโปรตุเกส)

ปลิงทะเล


ปลิงทะเล (sea cucumber)เป็นสัตว์ทะเลที่ไร้กระดูกสันหลังชนิดหนึ่งที่อยู่ในตระกูลเอคไคโนเดิร์มซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกับดาวทะเล,หอยเม่น เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีรูปร่างกลมยาว คล้ายไส้กรอกขนาดใหญ่ ปลายทั้งสองข้างเป็นช่องเปิดของปากและทวาร ผิวหนังส่วนนอกคล้ายเนื้อยืดหยุ่นได้ ภายในผิวหนังมีตุ่มเม็ดหินปูนกระจายอยู่ทั่วไปตามผิวนอกมีติ่งเนื้อเล็ก ๆ คล้ายหนวดสั้น ๆ เรียงอยู่เป็นแถว ทำหน้าที่ช่วยในการหายใจและเคลื่อนไหว ปากของปลิงทะเลอยู่ตอนปลายสุดด้านที่มีหนวดลักษณะคล้ายต้นไม้ล้อมรอบ ทำหน้าที่ในการหาอาหาร โดยใช้หนวดขุดโคลนตมหน้าดินเข้าปากผ่านเข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร และกากที่เหลือจะถ่ายออกทางช่องก้นซึ่งอยู่อีกด้านหนึ่ง ทวารของปลิงทะเลเป็นช่องเล็ก ๆ ทำหน้าที่ในการขับถ่ายของเสีย หายใจ เป็นทางออกของเชื้ออสุจิ ปลิงมีสารพิษ โฮโลทูลิน ซึ่งปล่อยออกทางผิวหนัง ใช้ในการป้องกันอันตรายจากปลาและปู ถ้าหากนำปลิงทะเลไปใส่ในตู้เลี้ยงปลามันจะปล่อยสารพิษดังกล่าวออกมามากจนทำให้ปลาตายได้ ถิ่นอาศัย พบตามพื้นทะเลที่เป็นทรายปนโคลนใน อ่าวไทยและทะเลอันดามัน อาหาร กินอินทรีย์วัตถุตามพื้นดินโคลนและทราย ขนาด มีความยาวประมาณ 30–40 ซม. ประโยชน์ เนื้อปลิงใช้ปรุงอาหารได้

แมวน้ำเคปเฟอร์ซิล


ลักษณะทั่วไป ตัวผู้ใหญ่กว่าตัวเมีย โดยมีคอเป็นสันใหญ่ สีขนลำตัวของตัวผู้เป็นสีเทา-ดำ และมีสีน้ำตาลแซม น้ำหนักราว 247 กิโลกรัม ความยาว 2.15 เมตร ตัวเมียมีสีลำตัวเป็นสีน้ำตาล-เทา น้ำหนักราว 57 กิโลกรัม และมีความยาว 1.56 เมตร ถิ่นอาศัย, อาหาร ออกจับปลาในทะเลใกล้เกาะเล็ก ๆ และขึ้นฝั่งบนเกาะบริเวณชายหาดที่เป็นโขดหินที่มีการขึ้นลงของน้ำทะเลในเขตแอฟริกาใต้ กินปลาเป็นอาหารหลักรวมทั้งปลาหมึกและหอย พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ แมวน้ำเคปเฟอร์ซีลเป็นสัตว์สังคม อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ชอบล่าเหยื่อและหากินตามผิวน้ำหรือน้ำตื้นๆ หากินปลาตามเรือของชาวประมง ในช่วงกลางเดือนตุลาคม ตัวผู้จะไปยังพื้นที่ผสมพันธุ์ซึ่งเป็นชายหาดที่เป็นโขดหินและประกาศอาณาเขต อีกหลายสัปดาห์ต่อมาตัวเมียจะตามเข้ามาเพื่อออกลูกจำนวน 1 ตัว ซึ่งจะมีตัวเมียหลายตัวเข้ามาในอาณาเขต ตัวผู้ที่ครองอาณาเขตจะไล่ตัวผู้ตัวอื่นออกนอกอาณาเขตหากล้ำเข้ามา จนกว่ามันจะได้ผสมพันธุ์กับตัวเมียทุกตัว ตัวเมียจะเป็นสัดหลังการออกลูก 5 - 6 วัน และมีระยะการตั้งท้องนานประมาณ 1 ปี สถานภาพปัจจุบัน สถานที่ชม สวนสัตว์เชียงใหม่

เต่าญี่ปุ่น


การเลี้ยงเต่าญี่ปุ่น

โดย จอนฟอน จอมป้วนเปี้ยน

ช่วงนี้บ้านเมืองง่อนแง่นโงนเงน ถึงตอนนี้จะเลือกตั้งเสร็จแล้ว แต่บรรยากาศก็ยังมาคุ มาคุ ดูทะแม่งๆอยู่ดี นักการเมืองร้อนรนวิ่งกันขาขวิด เราประชาชนตาดำๆไม่ต้องร้อนรน มานั่งดูเต่าน้ำแสนน่ารักเล่นๆให้เย็นใจดีฝ่า ฮ่าๆ เอิ๊ก ประกอบกับช่วงนี้มีคนตั้งกระทู้ถามกันเยอะแยะมากมายเลยครับ แสดงให้เห็นถึงเต่าที่ความนิยมอันดับหนึ่ง ครองใจผู้เลี้ยงได้อย่างอำตะนิรันดร์กาลจริงๆครับ... เต่าญี่ปุ่นครับ เต่าญี่ปุ่นมีชื่อสามัญภาษาฝรั่งว่า Red-eared sliders (Trachemys scripta elegans) มีถิ่นกำเนิดไล่ขึ้นไปตั้งแต่ใต้สุดของโอกินาว่าขึ้นไปจนถึง......จว๊าก ชื่อพาเคลิ้ม ความจริงแล้วเต่าญี่ปุ่นไม่ได้มาจากญี่ปุ่นและก็ไม่ได้มีถิ่นกำเนิดที่ญี่ปุ่นนะครับ แต่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา ในแหล่งน้ำของรัฐมิสซิสซิปปี้ แล้วก็ไล่ตั้งแต่แถวๆ อิลินอยส์ ไปจนถึงอ่าวเม็กซิโกเลยครับ แล้วทามมายมันชื่อเต่าญี่ปุ่น อันนี้เซียนท่านบอกไว้ว่า ก็เพราะว่าถิ่นกำเนิดนั้นอยู่ทวีปอเมริกาและนำเข้าไปเป็นสัตว์เลี้ยงที่ประเทศญี่ปุ่น แล้วคนไทยก็ไปเอานำเข้ามาจากญี่ปุ่นอีกที ก็เลยตั้งชื่อทางการค้าง่ายๆว่าเต่าญี่ปุ่นนั่นเองครับ เต่าญี่ปุ่นเป็นเต่าน้ำ(เต่าชายน้ำ)มีเท้าเป็นพังผืดว่ายน้ำได้ดี ตอนเด็กๆกระดองค่อนข้างกลม สีเขียวมีลวดลาย คล้ายลายไม้ ผิวหนังก็เป็นสีเขียวมีลวดลายเช่นกัน บริเวณหางตาทั้งสองข้างมีแถบสีแดงอันเป็นที่มาของชื่อเต่าหูแดงหรือเต่าแก้มแดงนั่นเองครับ พอโตขึ้นสีเขียวสดบนกระดองจะจางลงและกลายเป็นสีน้ำตาลอาจยังมีลายเขียวๆหลงเหลืออยู่บ้าง ขนาดความยาวตัวเมียประมาณ 1 ฟุต ตัวผู้ขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย ถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 2 ปีขึ้นไป โตเต็มที่เมื่อมีอายุ 7 ปี อายุขัยโดยเฉลี่ย 30 ปี

เต่าญี่ปุ่นเป็นเต่าที่กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร ในขณะที่ยังเป็นเด็กจะต้องการเนื้อสัตว์เป็นอาหารมากกว่าพืชในอัตราส่วนเนื้อสัตว์ร้อยละ70 พืชร้อยละ30 แต่เมื่อโตขึ้นเต่าญี่ปุ่นจะกลับเนื้อกลับตัว บริโภคพืชเป็นส่วนใหญ่ ในอัตราส่วน พืชร้อยละ90 เนื้อสัตว์ร้อยละ10 (Wilke,1979) เต่าญี่ปุ่นที่เราเลี้ยงส่วนมากจะซื้อมาตั้งแต่เต่ายังเล็ก ก็ควรให้อาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ อาทิเช่น กุ้งฝอย เนือปลา หนอนนก หนอนแดง ไส้เดือน ฯลฯ รวมถึงอาหารปลา อาหารเต่าสำเร็จรูปต่างๆด้วยครับ ไม่ควรให้อย่างเดียวชนิดเดียวตลอด ควรให้หลายอย่างสลับสับเปลี่ยนคละเคล้ากันไป พวกพืชก็ให้ไดหลากหลายครับ ผักบุ้ง ผักกาด คะน้า กวางตุ้ง ตำลึง ใบผักตบชวา ฯลฯ โดยนิสัยเต่าญี่ปุ่นจะกินในน้ำเป็นหลัก (แต่ก็สามารถงับอาหารบนบกได้) ดังนั้นก็ใส่อาหารลงไปในน้ำเลยครับเดี๋ยวเค้าจัดการกันเอง เนื่องจากเต่าญี่ปุ่นเป็นเต่าน้ำ (เต่าชายน้ำ) อาศัยอยู่ในน้ำ กินอยู่ขับถ่ายก็กระทำในน้ำ ดังนั้นจึงควรรักษาความสะอาดน้ำในที่เลี้ยงอย่างสม่ำเสมอ หรือถ้าติดระบบกรองน้ำแบบเลี้ยงปลาสวยงามไปเลยก็ดีเลยครับ ภาชนะที่ใช้เลี้ยงพื้นฐานสุดๆก็คงจะเป็นตู้ปลาครับ เลือกขนาดตู้ปลาก็ขอให้ใหญ่ๆหน่อย เพราะเต่าตัวนี้อัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างเร็วครับ แต่จะว่าไปตู้ปลาก็ไม่ใช่ภาชนะที่เหมาะสมสำหรับเลี้ยงเต่าญี่ปุ่นนะครับ เต่าญี่ปุ่นไม่ต้องการน้ำที่ลึกมาก เลี้ยงในอ่างหรือบ่อกว้างๆใหญ่ๆดีกว่าครับ เพราะเต่าญี่ปุ่โตเต็มที่เป็นฟุตนะครับ

เนื่องจากเต่าญี่ปุ่นเป็นสัตว์เลือดเย็น แสงแดดจากดวงอาทิตย์จึงจำเป็นต่อเต่ามากๆๆๆๆๆ สถานที่เลี้ยงก็ควรเป็นที่ๆรับแสงธรรมชาติได้อย่างน้อย 1-2ชั่วโมง โดยมีร่มเงาไว้ให้หลบร้อนด้วย เต่าญี่ปุ่นชอบขึ้นมาอาบแดดบนบกเอามากๆ ดังนั้นจึงควรจัดให้มีตลิ่ง เชิง ชาน ดิน กรวด ทราย หรืออะไรก็ตามที่เป็นบกให้น้องเต่าขึ้นมาอาบแดดได้ แสงแดดจะช่วยเพิ่มอุณหภูมิให้ร่างกาย ช่วยย่อยอาหาร การเจริญเติบโต ช่วยดึงสารอาหารไปใช้ รวมถึงฆ่าเชื้อโรค เชื้อราที่ติดอยู่ตามกระดองและผิวหนังให้หมดไป
ถ้าไม่สะดวกพาเต่ามาอาบแดด ก็มีหลอดยูวีสำหรับสัตว์เลื้อยคลานต่างๆ ซื้อมาใช้ก็พอถูไถไปได้ แต่ยังไงก็สู้แสงแดดธรรมชาติไม่ได้หรอกครับ ฮ่าๆๆ

ในขณะยังเด็กเต่าญี่ปุ่นจะยังไม่สามารถแยกเพศได้ชัดเจน จะเริ่มดูออกเมื่อเต่ามีขนาด 3-4 นิ้วขึ้นไป โดยตัวเมียจะตัวใหญ่และโตเร็วกว่าตัวผู้อย่างเห็นได้ชัด ตัวผู้จะหางยาวกว่า เล็บยาวแหลม ท้องกระดองเว้า ตัวเมียเล็บสั้น หางสั้น ท้องกระดองแบนราบ เต่าญี่ปุ่นมีวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 2 ปีขึ้นไป เต่าจะเริ่มผสมพันธุ์วางไข่ 2 ช่วง คือ เดือนมีนาคมและมิถุนายน และจะวางไข่ช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม การผสมพันธุ์จะดำเนินการกันในน้ำนะครับ โดยตัวผู้จะว่ายน้ำตามตัวเมีย และเมื่อตัวเมียพร้อม ตัวเมียจะหยุดและทิ้งตัวลงใต้น้ำ ตัวผู้จะตามไปใช้เล็บยาวๆเกาะที่กระดองตัวเมีย ส่วนเว้าของกระดองตัวผู้ ก็จะประกบกับส่วนโค้งของกระดองตัวเมียพอดี จากนั้นตัวผู้ก็จะ... จว๊าก ไม่ต้องเล่ามากก็ได้ตอนนี้.. จำนวนไข่ของเต่าญี่ปุ่นที่มีการบันทึกเอาไว้ก็ประมาณ 4-23 ฟอง โดยจะวางไข่บนบก แม่เต่าจะขุดหลุมวางไข่บนพื้นดิน ใช้เวลาประมาณ 60-75 วันเพื่อฟักเป็นตัว ใครจะเพาะพันธุ์สถานที่ก็ควรมีทั้งน้ำทั้งบกทั้งพื้นดินนะครับ เต่าญี่ปุ่นโตมาตัวก็ใหญ่ กินเยอะขี้ก็เยอะ สีก็เปลี่ยนไปไม่สวยน่ารักเหมือนเก่า เหม็นก็เหม็น เลี้ยงไปเลี้ยงมาเมื่อไหร่คิดได้ดังนี้แล้วก็อย่าเอาไปปล่อยตามแหล่งน้ำธรรมชาตินะครับ เต่าญี่ปุ่นจะไปแย่งที่อยู่และแหล่งอาหารของเต่าพื้นเมืองของเรา เต่าญี่ปุ่นกินก็เก่งกินไม่เลือก ขยายพันธุ์ง่าย อัตราการรอดสูงแถมไข่เยอะอีก ผิดกับเต่าไทยของเราไข่ทีน้อยจัง ยังไงก็คิดพิจราณาศึกษาก่อนเลี้ยง วางแผนและเตรียมการจัดการให้ดีๆ เพื่อเต่าแสนรักของเรานะคร๊าบบบ..

จระเข้น้ำจืด


ลักษณะทั่วไป จระเข้น้ำจืดตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมียมีขนาดยาวประมาณ 12 ฟุต แต่ตัวผู้มีหางยาวกว่าตัวเมีย และมักมีจำนวนเกล็ดที่ห่างมากกว่า จระเข้น้ำจืดหัวทู่สั้นกว่าจระเข้น้ำเค็ม มีเกล็ดท้ายท้อย 4 เกล็ดเรียงให้เห็นชัด เท้าหลังมีพังผืดเล็กน้อย หางจระเข้มีกำลังมากใช้โบกพัดไปมาช่วยในการว่ายน้ำ หรือเป็นอาวุธ สามารถฟาดหางทำให้คนหรือสัตว์ได้รับอันตรายได้ ปกติไม่ได้ใช้ขาในการว่ายน้ำ ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในเอเชียแถบประเทศกัมพูชา อินโดนีเซีย และประเทศไทย จระเข้น้ำจืดกินสัตว์ที่มีขนาดกลาง เช่น ปลา กบ นก รวมทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก ถ้าอาหารมีขนาดใหญ่มันจะคาบอาหารแล้วเหวี่ยงไปมาทำให้อาหารขาดออกเป็นชิ้น ๆ อาหารจะถูกย่อยอย่างช้า ๆ ทำให้ไม่ต้องกินอาหารประมาณ 15-30 วัน หลังจากนั้นจึงกินอีกครั้งหนึ่ง พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ชอบอยู่ตัวเดียว ตามแหล่งน้ำนิ่งซึ่งมีความลึกไม่เกิน 5 ฟุต และมีที่ร่ม ในช่วงอากาศร้อนจะแช่ตัวในน้ำ ถ้าอากาศหนาวจะขึ้นมาผึ่งแดดบนบกในตอนกลางวัน จระเข้น้ำจืดมักผสมพันธุ์กันในฤดูหนาวซึ่งในระยะนี้ตัวผู้จะต่อสู้กันเพื่อแย่งชิงเป็นเจ้าของตัวเมีย การผสมพันธุ์มีปีละครั้ง จระเข้น้ำจืดเริ่มวางไข่โดยตัวเมียจะขุดดินที่อยู่ใกล้น้ำที่เป็นดินทรายกว้าง 40-50 เซ็นติเมตร แล้วออกไข่ประมาณ 20-40 ฟอง เมื่อวางไข่เสร็จแล้ว จระเข้จะกวาดใบไม้รอบ ๆ หลุมไข่มารวมพูนกองบนรังไข่เพื่อป้องกันฝน จากระยะออกไข่จนฟักเป็นตัว ระยะนี้จระเข้จะดุร้ายมาก ศัตรูตามธรรมชาติของไข่จระเข้น้ำจืดนอกจากคนแล้วก็มี เหี้ย ตะกวด ชะมด อีเห็น ซึ่งมาลักไข่ของมันไปกิน เมื่อฟักไข่ครบกำหนดแล้วจระเข้ตัวอ่อน ๆ ก็จะเจาะเปลือกไข่ออกมาเอง สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา

ปลาเสือตอ


ลักษณะทั่วไปของปลาเสือตอปลาเสือตอมีลำตัวเล็กแบนข้างส่วนที่เป็นหน้าผากขาวลาด ปากกว้าง และยืดหดได้ ครีบหลังยาวแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นหนามแข็ง 12 อัน ส่วนหลังเป็นก้านครีบอ่อนครีบล่างส่วนแรกเป็นหนามแข็งขนาดใหญ่ลดหลั่นกัน 3 อัน ส่วนหลังเป็นก้านครีบอ่อนเป็นแผ่นใสขอบกลม หางเป็นรูปมนมีเกล็ดขนาดเล็กรอบเกล็ดมีหนาม ลำตัวมีสีครีมออกชมพูและสีเหลือง มีแถบดำใหญ่พาดขวางลำตัวประมาณ 6 แถบ ขนาดความยาวเมื่อโตเต็มที่มีความยาว 16 นิ้วปลาเสือตอที่นิยมในตลาดปลาสวยงามในประเทศไทยมีอยู่ประมาณ 3 สายพันธุ์ เป็นสายพันธุ์เสือตอน้ำจืด 2 สายพันธุ์และสายพันธุ์เสือตอน้ำกร่อยอีก 1 สายพันธุ์ลักษณะที่เป็นความสวยงามเฉพาะตัวของปลาเสือตอคือ รูปทรงที่แบนกว้าง มีพื้นสีเหลืองสดใส มีลายดำพาดขวางลำตัวอย่างได้ส่วน เวลาเคลื่อนไหวครีบบนครีบล่างส่วนท้ายอ่อนพลิ้ว ครีบท้องหรือครีบตะเกียบมีสีเหลืองตัดสีดำเหยียดตรง มีชายพู่ตะเกียบ 3-4 เส้น ดูสง่างามโดยเฉพาะเวลาตามเหยื่อ หนามแข็งส่วนหน้าของครีบจะชี้ตัวขึ้น ครีบหนามล่างจะเหยียดลงทำให้ดูสวยงาม ปกติชอบอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำที่มีตอไม้จึงจะได้ชื่อว่า "ปลาเสือตอ" การเลี้ยงปลาเสือตอในแหล่งน้ำธรรมชาติ ปลาเสือตอจะอาศัยอยู่บริเวณน้ำลึกในฤดูร้อนเพื่อวางไข่และย้ายตำแหน่งในฤดูน้ำหลาก ปลาเสือตอขนาดเล็กในแหล่งน้ำธรรมชาติกินอาหารประเภทสัตว์น้ำขนาดเล็กแทบทุกชนิด ส่วนปลาเสือตอขนาดใหญ่ชอบกินกุ้งฝอยและลูกปลา ส่วนปลาเสือตอที่นำมาเลี้ยงในตู้กระจกสามารถฝึกให้กินเหยื่อชนิดอื่นๆเช่น เนื้อสัตว์ เนื้อปลา กุ้ง และหนอนมีลเวิร์มแต่ต้องใช้ความพยายามในการฝึกค่อนข้างนานกว่าปลาชนิดอื่นวิธีฝึกให้กินเหยื่อ ต้องนำปลาชนิดอื่นที่กินเหยื่อนั้นดีอยู่แล้ว และมีขนาดไล่เลี่ยกับปลาเสือตอฝูงที่จะฝึกมาใส่รวมกันและเลี้ยงด้วยอาหารชนิดนั้น ปลาที่เคยกินเหยื่อจะชักนำให้ปลาเสือตอที่ไม่เคยกินเหยื่อชนิดนั้นแย่งกินเป็นบางครั้ง หากปลาเสือตอคายเหยื่อจะต้องคอยตักออกเมื่อฝึกไปสัก 3-4 สัปดาห์ ปลาเสือตอจะเริ่มคุ้นเหยื่อที่ให้ในระยะแรกหากปลาเสือตอที่ต้องการฝึกยังไม่ยอมกินต้องใช้เหยื่อเป็นคือ ลูกกุ้งฝอย ปลาเล็ก เป็นๆใส่ให้กินแต่น้อย เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาท้องกิ่วตาย การเพาะขยายพันธุ์ปลาเสือตอปลาเสือตอสามารถวางไข่โดยวิธีธรรมชาติ โดยไม่จำเป็นต้องใช้การฉีดฮอร์โมนเข้าช่วย ช่วงการวางไข่ประมาณเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ปลาเสือตอเพศผู้จะมีขนาดโตเต็มวัยเมื่อมีน้ำหนักประมาณ 300-400 กรัม ส่วนปลาเสือตอเพศเมียขนาด 800 กรัมจะได้วัยเจริญพันธุ์ไข่ปลาเสือตอเป็นไข่ประเภทลอยน้ำ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ใช้เวลาฟักออกเป็นตัวประมาณ 14-17 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิประมาณ 29 องศาเซลเซียส และถุงอาหารจะยุบภายในเวลา 2-3 วัน อาหารที่เหมาะสมของลูกปลาเสือตอวัยอ่อนควรเป็นแพลงก์ตอนสัตว์ขนาดเล็ก เช่นโรติเฟอร์ในระยะ 3-10 วันแรก และใช้ไรแดงเลี้ยงอนุบาลจนได้ขนาด 3 เซนติเมตรขึ้นไป จึงใช้หนอนแดงอาร์ทีเมียขนาดใหญ่หรือลูกปลาขนาดเล็กให้กินเป็นอาหาร โรคและปัญหาของปลาเสือตอโรคของปลาเสือตอมักจะเกิดจากปรสิตที่ติดมากับปลาเสือตอในธรรมชาติที่พบอยู่เป็นประจำคือ- ฝีตามตัว มีลักษณะเป็นตุ่มตามตัวหรือส่วนทวารขนาดค่อนข้างใหญ่เป็นตุ่มบวมปูดออกจากผิวหนังวิธีรักษาคือ ให้แยกปลาที่มีอาการป่วยออกมาใส่ตู้พยาบาลที่มีระบบกรองน้ำและให้อากาศค่อนข้างแรงจึงอดอาหารไว้ 2-3 วันแล้วใช้ยาปฏิชีวนะผสมน้ำ 1 ช้อนโต๊ะต่อ 1 แคปซูลราดลงบนตัวกุ้งฝอยเป็นๆที่กรองแห้งไว้แล้วเทให้ปลากิน 1 วันครั้ง สัก 2-3 ครั้ง- โรคอิ๊กหรือจุดขาว เกิดจากเชื้ออิ๊ก ใช้ยาซุปเปอร์อิ๊กที่มีขายอยู่ตามร้านขายปลาทั่วไป แช่ปลาตามอัตราส่วนที่กำหนดปลาเสือตอมีสีคล้ำเป็นลักษณะ แสดงความไม่สมบูรณ์และเจ็บป่วย เพราะสีของปลาเสือตอแสดงถึงความสมบูรณ์และอารมณ์ของปลา ปลาเสือตอที่ตกใจหรือป่วยจะออกสีดำ ครีบหุบ ลักษณะของปลาที่สมบูรณ์ครีบจะกางสีออกเหลืองสดใส ลายดำออกซีด ครีบกางตั้งทั้งปลาขนาดเล็กจนถึงปลาขนาดใหญ่ ตลาดปลาเสือตอปลาเสือตอที่พบในแหล่งน้ำทางภาคอีสานเป็นปลาเสือตอลายเล็กมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coius Undecimraciatus หรือในชื่อเรียกที่รู้จักในตลาดปลาสวยงามว่า "เสือตอลายเล็ก" พบมากในแม่น้ำโขงแถบจังหวัดหนองคาย นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี ยโสธร ในแม่น้ำมูล มีจำนวนค่อนข้างมาก ราคาซื้อขายขนาดเล็ก 2 นิ้วฟุต ตัวละ 20-50 บาท ปลาเสือตออีกชนิดหนึ่งคือ ปลาเสือตอน้ำกร่อยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coius Quadrifasciatus หรือเรียกว่า "ปลากะพงลาย" เป็นปลาเสือตอที่ลายเล็กที่สุดมีนิสัยค่อนข้างก้าวร้าว พบในแหล่งธรรมชาติตามปากแม่น้ำแทบทุกแห่งทั่วประเทศ จัดเป็นปลาเสือตอที่ราคาถูกที่สุดปลาเสือตอชนิดที่นิยมและมีราคาสูงที่สุดในปัจจุบันคือ ปลาเสือตอลายใหญ่และเสือตอลายคู่(ลาย 7 ขีด) ปลาเสือตอทั้ง 2 ชนิดนี้ต้องนำเข้ามาจากประเทศเขมร เป็นปลาที่จับจากแหล่งน้ำธรรมชาติ คือ ทะเลสาบในประเทศเขมรโดยมีพ่อค้าคนกลางเก็บรวบรวม ปลาเสือตอทุกขนาดลำเลียงเข้ามาในประเทศไทยเพื่อขายส่งต่อไปยังต่างประเทศทั่วโลกเป็นสินค้าปลาสวยงามนิ้วละ 60-100 บาท ส่วนปลาเสือตอลายคู่ราคาจะสูงกว่าปลาเสือตอลายใหญ่เกือบ 3 เท่าตัว